ผลสัมฤทธิ์ด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษและความเห็นต่อการเรียนไวยากรณ์แบบที่มีครูเป็นศูนย์กลาง และการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน

Main Article Content

ยาวารี สะอีดี
นิสากร จารุมณี

บทคัดย่อ

หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเป็นส่วนสำคัญของการเรียนภาษาอังกฤษ แต่จากงานวิจัยในอดีตพบว่า นักเรียนขาดแรงจูงใจในการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษซึ่งส่งผลให้นักเรียนมีระดับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ต่ำลง งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาผลสัมฤทธิ์ด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษและความเห็นต่อการเรียนแบบครูเป็นศูนย์กลางและแบบเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากโรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง ในจังหวัดยะลา ซึ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม จำนวน 40 คน การเก็บข้อมูลใช้รูปแบบเชิงทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ใบงานมอบหมายงานสอน แบบทดสอบประเมินความสามารถด้านไวยากรณ์ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับความเห็นของนักเรียนต่อการเรียนแบบครูเป็นศูนย์กลางและแบบเพื่อนช่วยเพื่อน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ร้อยละ ค่าที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์สรุปข้อมูลจากการจัดกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) การเรียนที่มีครูเป็นผู้สอน นักเรียนที่ทำหน้าที่สอนเพื่อนและนักเรียนที่เรียนจากเพื่อนมีผลสัมฤทธิ์ด้านไวยากรณ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แต่ระดับพัฒนาการของนักเรียนทั้ง 2 กลุ่มเพิ่มขึ้นในระดับที่ไม่แตกต่างกัน 2) การเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน นักเรียนที่ทำหน้าที่สอนเพื่อนมีผลสัมฤทธิ์ด้านไวยากรณ์เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แต่นักเรียนที่เรียนจากเพื่อนมีผลสัมฤทธิ์ด้านไวยากรณ์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 3) นักเรียนพึงพอใจต่อการเรียนแบบครูเป็นศูนย์กลางในระดับสูงมาก 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการทำหน้าที่สอนเพื่อนและการเรียนจากเพื่อนในระดับมาก ทั้งกล่าวถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Chawiphat, S. & Chamnankit, B. (2011). The effects of teaching English based on communicative approach with cooperative learning techniques on achievement and attitude toward English learning of Matthayomsuksa 2 students. Social Sciences Research and Academic Journal Nakhon Sawan Rajabhat University, 6(16), 31-44. (in Thai)

2. Conradie, C. I. (2013). Grammar-internal mimicking and analogy. Iconic Investigations, 12(1), 63-80.

3. Faculty of Education Chulalongkorn University. (2018). Problems and solution guidelines for current Thai education system. (2nd ed). Bangkok: Textbooks and Academic papers project Faculty of Education Chulalongkorn University. (in Thai)

4. Felder, R. M. & Brent, R. (2007). Cooperative learning. In P. A. Mabrouk (ed.). Active learning: Models from the analytical sciences. Washington, DC: American Chemical Society.

5. Matden, K. & Charumanee, N. (2017). Ability and the relationships between grammar ability, reading and writing skills. Journal of Humanities Naresuan University, 14(2), 33-42. (in Thai)

6. Panawong, S. (2011). Active learning – the 21st-century teaching/learning approaches [Online]. Retrieve October, 9 2017, http://edu.nsru.ac.th/2011/files/knowlage/17-14-19_22-07-2014_2-1.pdf. (in Thai)

7. Phothongsunan, S. (2014). Beliefs about language learning: An EFL perspective. Journal of Yala Rajabhat University, 9(1), 57-64. (in Thai)

8. Rajkhowa, B., & Das, S. (2015). Competency of teaching English in Indian context: A situational analysis. Journal of Language Teaching and Research, 6(1), 71-77.

9. Tessier, J. (2004). Using peer teaching to promote learning in Biology. Journal of College Science Teaching, 18-21.

10. Webb, N. M. (1995). Constructive activity and learning in collaborative small groups. Journal of Educational Psychology, 87(3), 406-423.