ตู้ปันสุข : วิถีปกติใหม่ ยุคโควิด-19 กรณีศึกษาเทศบาลนครยะลา

Main Article Content

อุษณีย์ พรหมศรียา
อัปสร อีซอ

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ความเหมาะสมของตู้ปันสุขในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย จึงทำการวิจัยเพื่อศึกษาที่มา แนวคิด วิธีบริหารจัดการตู้ปันสุข และพฤติกรรมผู้บริจาคและผู้รับบริจาคผลิตภัณฑ์ การศึกษานี้ใช้การวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกกลุ่มเป้าหมายผู้ริเริ่มหรือก่อตั้ง จำนวน 10 คน และแบบสอบถามผู้บริจาคและผู้รับบริจาคกลุ่มตัวอย่างละ 400 คน ด้วยวิธีสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่าที่มาและแนวคิดจากการเห็นข่าวการดำเนินงานผ่านสื่อต่าง ๆ หรือได้รับการประสานงานจากองค์กรเพื่อช่วยเหลือสังคมเป็นผู้ยึดมั่นในศาสนาและศรัทธาการทำความดี วิธีบริหารจัดการ ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ด้านอุปกรณ์เครื่องมือ ซึ่งมีตู้กับข้าวหรือตู้เอกสาร ด้านผลิตภัณฑ์ที่บริจาค มีความหลากหลาย ด้านเงินทุน มาจากเงินส่วนตัว ด้านบุคคล เป็นทีมงานในครอบครัว ชุมชนและองค์กร ด้านการจัดการ มีกฎเกณฑ์ในการหยิบ สำหรับพฤติกรรมผู้บริจาคและผู้รับบริจาคผลิตภัณฑ์ ผู้บริจาคต้องการช่วยเหลือผู้ที่ยากจนเดือดร้อน โดยนำผลิตภัณฑ์มาบริจาคเฉลี่ย 2-3 ครั้งต่อเดือน ส่วนผู้รับบริจาคเนื่องจากได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีพ ปฏิบัติตามกฎการรับบริจาค รับบริจาคเฉลี่ย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ สมาชิกในครอบครัว เป็นบุคคลที่มีผลต่อการบริจาคและรับบริจาค จากการสังเคราะห์ความเหมาะสมของการดำเนินงานทั้งมิติผู้บริจาคและมิติผู้รับบริจาค ผู้บริจาคมีผู้ให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น อิ่มบุญ สุขใจที่ได้เป็นผู้ให้ ผู้รับบริจาคไม่มีปัญหาแย่งชิงหรือทะเลาะเบาะแว้ง อิ่มท้อง และลดภาระในการครองชีพ สามารถนำไปเป็นแนวทางการดำเนินงานตู้ปันสุขให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Apinunmahakul, A. (2015). Determinants of voluntary contributions in Thailand. Development Economic Review, 9(2), 31-53. (in Thai).

Arnstein, R. S. (1969). A ladder of citizen participation. Journal of the American Institute of Planners, 35(4),

-224.

Burapanonte, N. (2020). What is the pantry of sharing or the little free pantry and where does it come? Let's find out [Online]. Retrieved May 20, 2020, from: https://www.sanook.com/campus /1400500/. (in Thai)

Kanjanamusik, W. (2011). Carrying out social responsibility (CSR) activities that affect decision to buy goods and services of consumers in Bangkok. Master’s independent study. Bangkok University. (in Thai)

National Geographic Asia. (2020). “Give what you can, take what you need - the real principle of the little free pantry” [Online]. Retrieved May 20, 2020, from: https://ngthai.com/cultures/29314/thaifreepantry/. (in Thai)

Shikhumbawornchai, N. (2020). 4 ways family businesses can adapt to Covid-19 [Online]. Retrieved May

, 2020, from: https://www.efinancethai.com/MoneyStrategist/MoneyStrategistMain.aspx?id=R0Yw b2QzWmhkWWM9. (in Thai)

Suetae, A., Bin Nik Hassan, N. & Padaameen, S. (2017). Ethnic relations in border of Thailand – Malaysia. Journal of Islamic Studies, 8(2), 18-28. (in Thai).

Thai Trade Center of the Hague. (2020). Shelf-stable foods. The Hague: Thai Trade Center. (in Thai)

The Little Free Pantry. (2020). The little free pantry [Online]. Retrieved May 30, 2020, from: https://www.littlefreepantry.org.

Tossawut, T. & Mahiwan, P. (2020). The development of social quality of life of people and the prevention of the spreading of coronavirus infectious disease (COVID–19). Journal of MCU Nakhondhat, 7(9), 40-55. (in Thai).

Yala Provincial Statistical Office. (2019). General condition of Yala Province [Online]. Retrieved May 20, 2020, from: http://yala.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=featured&Itemid=435. (in Thai)

Yenbumrung, N. (2016). Betong City: Strong Chinese-Thai people [Online]. Retrieved May 25, 2020, from:

http://www.furd.in.th/event/furd-city-awards/view/5PDq0L4X0gaX/. (in Thai)