การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูที่สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เป็นสิ่งจำเป็นจึงวิจัยเพื่อพัฒนาและประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูที่สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้กับกลุ่มตัวอย่างครูแกนนำการจัดการศึกษาพิเศษ จำนวน 3 คน และครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เรียนรวมในชั้นเรียนปกติ จำนวน 6 คน ของปีการศึกษา 2561-2563 วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติค่าที (t-test) แบบ Dependent พบว่า 1) รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูที่สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (TPIE model) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการนิเทศ (Training) ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนการนิเทศ (Planning) ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติการนิเทศ (Implementing) และขั้นตอน ที่ 4 การประเมินผลการนิเทศ (Evaluating) ส่วนการประเมินคุณภาพของรูปแบบมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.64 S.D.= 0.51) 2) ผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูที่สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (TPIE model) ปรากฏว่า ครูมีความรู้และทักษะในการจัดการเรียนรู้ ครูมีความรู้และทักษะในการนิเทศการสอนและครูมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หลังการใช้รูปแบบการนิเทศสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้น รูปแบบการนิเทศนี้ช่วยพัฒนาครู ที่สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ให้มีความรู้และทักษะในการจัดการเรียนรู้และการนิเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
Bureau of special education administration. (2020). Students with disabilities report classification of education areas [Online]. Retrieved March 10, 2020, from: http://www.specialset.bopp.go.th. (in Thai)
Glatthorn, A.A. (1984). Differentiated supervision. Washington D.C.: Association for Supervision and curriculum development.
Lowriendee, W. (2014). Sciences of instructional supervision and coaching professional development: theories, strategies to practices (12nd Ed.). Nakhon Pathom : Silapakorn University.
Office of the basic education commission. (2019). Policy office of the basic education commission fiscal year 2020. Bankok : Ministry of education.
Praphatsanun pengkit. (2015). Inclusive education. Mahasarkham: Faculty of Education Mahasarkham University.
Tongpanich1, P. (2019). Classroom design and management: teaching model ADDIE model [Online]. Retrieved June 1, 2019, from http://adi2learn.blogspot.com/2018/01/addie-model.html.
Yuenyong, Y. (2011). The development of a differentiated supervision model to enhance classroom action research competency of teachers in Bangkok Archdiocese Educational Region 5, Sipakorn Education Research Journal, 3(1), 196-209. (in Thai)