เตยหนาม : วัชพืชตามท้องนาสู่ผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่า

Main Article Content

จิราพร เกียรตินฤมล

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้นำเสนอเกี่ยวกับเรื่องเตยหนาม ในพื้นที่ตำบลวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ที่มีมากในท้องถิ่น เป็นวัชพืชขึ้นมาเองตามธรรมชาติในทุ่งนา สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สร้างมูลค่า เนื่องจากเส้นมีความเหนียว แข็งแรง และมีเนื้อสัมผัสที่นุ่ม ระบายอากาศได้เป็นอย่างดี ขั้นตอนการทำเส้นวัตถุดิบใช้ระยะเวลานาน ตั้งแต่การเก็บต้น ย้อมสี และขั้นตอนจักสานที่ถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านมีขั้นตอนการผลิต ที่สมัยก่อนชาวบ้านจักสานเพื่อนำมาใช้เป็น เสื่อ หรือ สาด(ภาษาใต้) ที่ใช้สำหรับปูพื้นนั่งทานข้าว หรือนอน รวมถึงผลิตภัณฑ์สำหรับใส่ของ เช่น กระบุงใส่ข้าวสาร ใส่ผลไม้ ที่ใส่ยาเส้น(ยาฉุน) และใบจาก ต่อมามีการพัฒนาแปรรูปในรูปแบบของใช้ ของที่ระลึก มีกรรมวิธีในการย้อมสีสันที่สดใส แล้วนำมาสานลายสลับสี ในปัจจุบัน การย้อมสีโดยนำเทคนิคจากการมัดย้อมผ้ามาต่อยอดด้วยการมัดเส้นเตยโดยใช้เชือกฟางมัดให้แน่น แล้วนำไปย้อมสีให้เกิดลวดลายที่เหมือนการเกลี่ยสีจากสีหนึ่งไปหาอีกสีหนึ่ง อนึ่ง แม้จะมีการพัฒนาด้านสินค้ามาตลอด แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่ากับเครื่องจักสานประเภทอื่น ที่น่าสังเกตคือ ไม่มีผู้สืบทอดภูมิปัญญาเท่าที่ควร ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะว่าหน่วยงาน เช่น สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอรามัน อุตสาหกรรมจังหวัดยะลา รวมถึงผู้เกี่ยวข้องควรเข้ามาส่งเสริม และสร้างแหล่งเรียนรู้อย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Bunchuay, S. (2012). A study of thai woven agriculture for the design of Ban San Suk recreation center. (Master's thesis). Silpakorn University, Faculty of Decorative Arts, Interior Design. (in Thai)

Eisaw, A. & Kiadtinaruemol, J. (2020). Academic service performance report of the GSB Yuwaphat Rakthin project: community enterprise development of the Santiphap Wang Phaya housewives group. Yala: Yala Rajabhat University. (in Thai)

Thaitambon.com. (2015). Information on Wang Phaya sub-district, Raman district, Yala province [online]. Retrieved on December 15, 2020. https://www.thaitambon.com/tambon/950614. (in Thai)

Worawongpitak, J. & Ellah, F. (2019). A research report on management model for sustainable pandanus basketry products from Ban Pong Bulo community, Sateng Nok subdistrict, Mueang district, Yala province. Yala: Yala Rajabhat University. (in Thai)

Thaweesinsopha, F. & Thaweesinsopha, K. (2016). A study of the wisdom way of pandanus basketry, Ban Duhun to community-based tourism in Trang province. Trang: College of Hospitality and Tourism Rajamangala University of Technology Srivijaya Trang Campus. (in Thai)

Sawatdichai, N. (2015). Public furniture design project to relax on the beach from pandanus materials: a case study for use at Koh Kradan beach in the responsibility supervised by Hat Chao Mai national park. (Master's thesis). Silpakorn University, Faculty of Decorative Arts, Department of Product Design. (in Thai)

Community Forest Management Office, Royal forest department (2017). Toei Panan (Pandanus), Trang: N.P.G. Enterprise LTD., Part. (in Thai)

Chooseng, K., Prabad, S. & Kri-nern, K. (2009). A research report on the development of caribbean agave tie dye products for the Hup Ka Phong agricultural cooperative group. Bangkok: Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. (in Thai)