แนวทางการพัฒนาอาหารไทยสู่มาตรฐานฮาลาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การขาดการจัดการภายใต้มาตรฐานอาหารฮาลาล เป็นการกีดกั้นการแข่งขันทางการตลาดของประเทศไทย ซึ่งชาวมุสลิมมีประชากรถึง 1 ใน 4 ของประชากรโลก จึงได้วิจัยเพื่อศึกษาสถานการณ์การขอรับรองมาตรฐานฮาลาล ประเภทอาหารไทย และเพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาอาหารไทยสู่มาตรฐานฮาลาลในประเทศไทย ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (สัมภาษณ์เชิงลึก) คัดเลือกผู้ให้ข้อมูล 8 คน จาก 3 กลุ่ม คือ 1.ผู้รู้เกี่ยวกับหลักการของอาหารฮาลาล 2.ผู้มีความรู้เกี่ยวข้องกับการขอรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลในประเทศไทย และ 3.กลุ่มสถานประกอบการพบว่า ปัจจุบันการขอรับรองเอื้อต่อธุรกิจการประกอบอาหารฮาลาลมากขึ้น เนื่องจากชาวมุสลิมดำเนินชีวิตตามหลักการของฮาลาล ไม่สามารถแยกการดำเนินชีวิตออกจากหลักศาสนาได้ อาหารฮาลาลจึงมีความสำคัญทั้งในปัจจุบันและอนาคต การมีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานฮาลาลสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคกลุ่มมุสลิมได้ ปัญหาหลักของการขอรับรองมาตรฐานฮาลาล ได้แก่ 1. การขาดความรู้ความเข้าใจของผู้ขอรับการรับรอง ขาดการชี้แนะแนวทางการขอรับรอง 2. ความล่าช้าในกระบวนการดำเนินการ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล 3. ปัญหาด้านมาตรฐานการตีความของผู้ตรวจประเมินที่มีแนวทางแตกต่างกัน 4. ขาดแคลนบุคลากรที่เป็นชาวมุสลิมอยู่ในสายการผลิต ทำให้สถานประกอบการอาจดำเนินการไม่ถูกต้องตามหลักการ แนวทางในการพัฒนาอาหารไทยสู่มาตรฐานฮาลาลคือ เสนอให้มีการพัฒนาปัจจัยช่วยสนับสนุนการขอรับรองมาตรฐานฮาลาล โดยให้หน่วยงานภาครัฐสนับสนุนโครงการต่าง ๆ สำหรับผู้ประกอบการ ให้ความสำคัญกับธุรกิจชุมชนหรือวิสาหกิจชุมชนให้มีความรู้ในการขอรับรองมาตรฐาน การจูงใจในการลดค่าธรรมเนียมเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถแก้ไขข้อบกพร่องและได้รับการรับรองมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
Aslan, I., & Aslan, H. (2016). Halal foods awareness and future challenges. British Journal of Economics, Management & Trade, 12(3), 1-20.
Chantavanich, S. (2011). Data analysis in qualitative research (10th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)
Chavarria, T. C. L., & Phakdee-auksorn, P. (2017). Understanding international tourists' attitudestowards street food in Phuket, Thailand. Tourism Management Perspectives, 21, 66-73.
Database to support the development of Thai Halal. (2018). Situation of Thai Halal food industry [Online]. Retrieved March 1, 2021, from: http://www.thaihalalfoods.com/TH/situation-2.php. (in Thai) Hamid, N. R. Ab.,
Saaidin, M., Kamari, M. N., Rose, R. M., & Ahmad, S. N. B. (2018). Service quality in Halal restaurants: The roles of religiosity and values. Advanced Science Letters, 24(12), 9452-9455.
Hasa, N. (2016). Marketing mix of ready to eat Thai Halal food products in the country republic of Indonesia. Master’s Thesis. Hatyai University. (in Thai)
Kaewnui, N., Wongvanichtawee, C., & Silalai, N. (2019). Restaurant management under certified Halal Food standard in Three Southern Border Provinces of Thailand. Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 30(3), 46-60. (in Thai)
Kamonnarakit, J. (2017). The Guidelines for developing Thai tourist Halal-Food restaurants in Hadyai district Songkhla province. Master’s Thesis. University of Phayao. (in Thai)
Kasikorn Research Center. (2018). Opportunity for Thai SMEs to compete in the global halal market [Online]. Retrieved November 14, 2020, from: https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/ article/KSMEAnalysis/Documents/Thai-SME-Opportunity_Halal-Market.pdf. (in Thai)
Khasuwan, S. (2012). Thai Halal food Image among muslim consumers in the middle east. BU Academic Review, 11(1), 70-86. (in Thai)
Lohwithee, W. (2020). The strengthening of well-being in accordance with guidelines suggested by the messenger of Islam. Journal of Liberal Arts, Rangsit University, 15(2), 65-76. (in Thai)
National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards. (2014). National Halal Food Standard [Online]. Retrieved November 20, 2020, from: http://www.acfs.go.th/halal/general.php (in Thai)
Phaitrakoon, J. & Chulakarn, N. (2016). Cultural understanding of Health in Thai Elderly Muslims. Princess of Naradhiwas University Journal, 8(2), 142-152. (in Thai)
Podhisita, C. (2011). Science and art of qualitative research (5th ed.). Bangkok: Amarin Printing & Publishing. (in Thai)
Pramampol, A. (2020). The use of marketing-mix factors affecting the decision-making in purchasing Halal Food of the consumers in Nong Chok District, Bangkok. Master’s Thesis. Krirk University. (in Thai)
Seanyen, T., Sirijaruanan, T., Hasoh, A. & Kartangchorn, S. (2018). Marketing trend in friendly muslim tourism. Journal of Pacific Institute of Management Science, 4(1), 286-297.
Songsangchai, A. (2015). Management certification of Halal food. The impact created a competitive advantage for operators Thailand. Master’s Thesis. Bangkok University. (in Thai)
Wannasupchue, W., Othman, M., Zainal, U. F. U., Abidin, F. A. C. I., & Mohamad, S. F. (2019). Current trends and opportunities for Halal restaurants in Thailand: A conceptual framework. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 9(1), 235-247.