การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง แม่บทอีสาน เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์พื้นเมือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์ จำเป็นต้องใช้สื่อที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนและตรวจสอบแม่ท่ารำได้ตลอดเวลาขณะสร้างสรรค์ การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมและวิเคราะห์กระบวนท่าฟ้อนแม่บทอีสาน 2) พัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง แม่บทอีสาน และ 3) ศึกษาผลการใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์พื้นเมือง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสาขานาฏศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา การประดิษฐ์ท่ารำเต้น จำนวน 21 คน ใช้วิธีการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ใช้แบบประเมินคุณภาพ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบวัดความพึงพอใจ และแบบประเมินคุณภาพผลงานสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ท่าฟ้อนแม่บทอีสานมี 48 ท่า นิยมนำไปใช้สร้างสรรค์ จำนวน 35 ท่า ไม่นิยมนำไปใช้ จำนวน 13 ท่า โดยท่าที่นำไปใช้มีลักษณะ การสื่อความหมาย และโอกาสที่ใช้แตกต่างกันออกไป 2) สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง แม่บทอีสาน มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.73/81.08 ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.67 ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ในระดับมาก 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผู้เรียนมีความพึงพอใจสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับ มาก ( = 4.44) และผลการประเมินผลงานสร้างสรรค์ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น อยู่ในระดับ มาก ( = 4.36) การวิจัยนี้พบว่าสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง แม่บทอีสาน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอน และเป็นประโยชน์ต่อผู้สร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง จึงควรนำไปใช้ในรายวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
Bochakphan, S., Homsin, J., Malahom, T. & Chaichitvanichkul, P. (2016). Development of multimedia's english vocabulary with augmented reality technology. Journal of Management of Information Technology and Innovation, 3(2), 58-64. (in Thai)
Buarod, S. (2015). Creation of a dance drama. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University. (in Thai)
Choetlaor, P. & Pimpimool, A. (2019). Study of efficiency and students’ learning achievement using multimedia on mathematics for grade 7 students. Sakthong: Journal of Science and Technology, 6(2), 101-110. (in Thai)
Denonpho, M., Phetrit, N., & Pewdum, A. (2019). The development of multimedia lessons on subject of chinese in daily life for Chandrakasem Rajabhat University students. Journal of of SSRU Graduate studies, 1(1), 47-59. (in Thai)
Inban, M. (2018). The development of a multimedia courseware on the earth and space for grade 4. Master’s Thesis. King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang. (in Thai)
Phabpimjai, S., Suthanatphakchana, S., & Thongsorn, P. (2018). The development of learning achievement in multimedia: Introduction to the technology for students in grade 3. Journal of Buriram Rajabhat University, 10(1), 149-165. (in Thai)
Saenboonsong, S., Emrat, N., & Jantrasi, S. (2018). The development of multimedia for learning on search engine of seventh grade students at Wat Phrakhao School, Phranakhon Si Ayutthaya. Walailak Journal of Learning Innovations, 4(2), 1-15. (in Thai)
Samakbut, P. (1995). The concept of Seing dancing invention (2ndEd.). Udon Thani: Udon Thani Rajabhat University. (in Thai)
Sheffield, L. J., & Cruikshank, D. E. (2000). Teaching and learning elementary and middle school mathematics. NY: John Wiley & Sons.
Sriboonnak, K. (2011). Isan folk drama. Surin: Surin Rajabhat University. (in Thai)
Torrance. Palue E. (1969). Guiding creative talent. New Delhi: Prentice-Hall of India Private Limited.
Weerapan, D. & Anupong, N. (2017). The development of 2D animated multimedia learning materials about sufficient life via internet. Journal of Valaya Alongkorn Review, 7(3), 61-72. (in Thai)
Wongpratoom, N., & Boonchai, p. (2015). Development of a computer multimedia teaching language C# Programming 1 in career and technology learning substance group for Mathayom Suksa 5 level. Journal of Curriculum and Instruction, 7(18), 155-164. (in Thai)
Wongthes, S. (1989). Singing and dancing: siamese music and dance. Bangkok: Matichon. (in Thai)