การรับรู้และการมีส่วนร่วมของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม สู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว

Main Article Content

ซูไบดี โตะโมะ
มูฮำหมัดตายุดิน บาฮะคีรี

บทคัดย่อ

การดำเนินนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมสู่การพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างความเข้าใจการรับรู้และอาศัยความร่วมมือจากบุลคากรในองค์กรในการให้ความสำคัญต่อนโยบายการขับเคลื่อนมหาวิทยาให้ก้าวไปสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ การมีส่วนร่วม และความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง 621 คน โดยแบ่งเป็นบุคลากรสายวิชาการ สายสนับสนุน จำนวน 241 คน และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จำนวน 380 คน โดยวิธีแบบแบ่งชั้น ผลการศึกษาแยกตามวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) การรับรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พบว่า บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน มีระดับการรับรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.85) ส่วนนักศึกษามีระดับการรับรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{X}= 2.93) 2) การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามหลักเกณฑ์จัดอันดับ (UI Green Metric) 6 ประเด็น ในภาพรวมของบุคลากรสายวิชาการ สายสนับสนุน อยู่ในระดับบ่อย ( gif.latex?\bar{X}= 3.62) ส่วนนักศึกษาอยู่ในระดับค่อนข้างบ่อย (gif.latex?\bar{X} = 3.23) 3) การรับรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมสู่มหาวิทยาลัยสีเขียวของบุคลากรสายวิชาการ สายสนับสนุน มีความสัมพันธ์กันกับการมีส่วนร่วมจัดการสิ่งแวดล้อมสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .544 ที่ระดับนัยสำคัญที่ .001 ขณะที่นักศึกษา มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .132 ที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.10 ซึ่งปรากฏให้เห็นว่า เมื่อบุคลากรได้รับรู้และมีส่วนร่วมเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมสู่มหาวิทยาลัยสีเขียวแล้ว ทำให้บุคลากรเกิดการตื่นตัวในการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมสู่มหาวิทยาลัยสีเขียวมากกว่านักศึกษา        

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bawkhaaw, T & Bejrananda, M. (2012). Policy and strategy formation towards 'green university: a case of Thaksin University, Phatthalung Campus. Arch Journal, 14(1), 40-55. (in Thai)

Chaivudhi, A. (2018). Organizational commitment: perception energy management of the government lottery office. Master’s degree of Arts. Krirk University. (in Thai)

Jindamongkol, K. (2015). Environmental management in Mueng Nga Sub-District Municipality, Mueng Lamphun District, Lamphun Province with a public’s participative process. Master of Public Administration. Nation University. (in Thai)

Kunton, N. (2012). Involvement in reducing the global warming phenomenon of student of Prince of Songkla University, Hat Yai campus. Academic Services Journal, 23(1), 176-200. (in Thai)

Policy and Planning Division. (2018). Survey report awareness and understanding of the direction of Suan Sunandha Rajabhat University for the fiscal year 2018. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University.

Rodtusana, I. (2015). Green University. HCU Journal, 18(36), 187-188. (in Thai)

Sitthipitaks, M. (2015). Delopment of a sustainable Green University model for Thai Higher Education Institutions. Doctor of Philosophy. Chulalongkorn University. (in Thai)

Sitthipitaks, M., Sathirakul, T. S., & Polsaram, P. (2021). Key success factors of sustainable Green University. Journal of Education Studies, 49(2), 1-10. (in Thai)

Srisa-ard, B. (2017). Pliminary research (10th ed.). Bangkok: Suviriyasarn. (in Thai)

Srisathit, W. (2016). The preparation for Green University policy the case study of Rajabhat University. Master of Architecture. Mahasarakham University. (in Thai)

Thee-asa, P. (2015). The strategies to develop Rajabhat Universities towards Green University. Doctoral dissertation. Rajabhat Maha Sarakham University. (in Thai)

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.

Yeunkong, M. & Sukdej, S. (2020). Guidelines for the development of Northeastern University as a Green University. NEU Academic and Research Journal, 10(3), 70-78. (in Thai)