การพัฒนาเครือข่ายดิจิทัลนวัตวิถีของดีในชุมชนอันดามันเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

Main Article Content

ปสุตา แก้วมณี

บทคัดย่อ

ปัจจุบันชุมชนอันดามันมีอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แต่ชุมชนยังขาดเครือข่ายการเรียนรู้ที่เป็นสื่อกลางในการรวบรวมองค์ความรู้วิถีชุมชน จึงได้วิจัยและพัฒนาเครือข่ายดิจิทัลนวัตวิถีของดีในชุมชนอันดามันเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังเครือข่ายดิจิทัลนวัตวิถี ศึกษาแนวทางในการพัฒนาเครือข่ายดิจิทัลนวัตวิถี พัฒนาเครือข่ายดิจิทัลนวัตวิถี เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเครือข่ายดิจิทัลนวัตวิถี และศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการเครือข่ายดิจิทัลนวัตวิถี โดยวิธีการพัฒนาเครือข่ายดิจิทัลนวัตวิถีและศึกษาผลการใช้ วิเคราะห์หาค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,000 คน ในพื้นที่ 5 จังหวัดอันดามัน ด้วยสถิติ PNImodified ผลปรากฏว่า สภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่คาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุด วิเคราะห์หาแนวทางในการพัฒนาเครือข่ายดิจิทัล จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 75 คน ด้วยสถิติเชิงบรรยาย ปรากฏว่า ได้แนวทางในการพัฒนาเครือข่ายดิจิทัลนวัตวิถีที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน คุณภาพด้านเนื้อหาของเครือข่ายดิจิทัลนวัตวิถีอยู่ในระดับมาก คุณภาพด้านสื่อ/ ด้านเทคนิคอยู่ในระดับมากที่สุด และวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเครือข่ายดิจิทัลนวัตวิถี จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน ด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ปรากฏว่า ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนหลังเรียนด้วยเครือข่ายดิจิทัลนวัตวิถีสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของผู้รับบริการเครือข่ายดิจิทัลนวัตวิถีอยู่ในระดับมากที่สุด จากผลการวิจัยนี้ ชุมชนได้เครือข่ายดิจิทัลนวัตวิถีที่คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการออกแบบเครือข่ายดิจิทัลนวัตวิถีของชุมชนโดยชุมชนเพื่อชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chatpakkarat, T., Suwatthipong C., & Vongammart, W. (2018). Development of a smart community learning resources model in the 21st center to enhance lifelong characteristics of people. Bangkok: National Research Council of Thailand.

Chawarangkun, S. (2018). Development of thai digital heritage with 3D architectural model Wat Chaiwatthanaram in the Ayutthaya Era. Journal of Vocational and Technical Education, 8(25), 42-52.

Chuchareon, R. (2016). Media production website for public relations ecotourism in Lampang Province (Master’s thesis). Chiang Mai. Chiang Mai Rajabhat University.

Gulasirima, R., Rasamipiboon, N., Yambunjong, P. and Panomwan, P. (2014). Practical guidelines to knowledge management using the network of community’s learning sources in Khokkotao Subdistrict, Muang District, Suphanburi Province. SDU research journal humanities and social science, 12(1). 155-170.

Insa-ard, S. (2018). E-learning design to develop higher order thinking skills (HOTS). Bangkok: Se-Education.

Kaewmanee, P., Thasook, A., & Koysupsin, C. (2020). The development of constructivist creative media in learning resources and learning networks: A case study of phuket mining museum for students in graduated diploma in teaching profession. Journal of Yala Rajabhat University, 15(1), 85-97.

Leekitchwatana, P. (2011). Educational research (5th edition). Bangkok: Mean Service Supply.

Nuangchalerm, P. (2011). Classroom research. Mahasarakham: Apichart Publisher.

Office of the Education Council ministry of education. (2005). National education standard (2nd ed.). Bangkok: Sahy Block and Karnpim Ltd.

Phanthai, B. (2010). Preliminary research methodology. Bangkok: Ramkhamhaeng University.

Pongsopa, P. (2001). Educational psychology. Bangkok: Pattanasuksa.

Prapakornkiat, S. (2019). The development of tourism public relations based on the community based tourism concept (Dissertation Master of Science). Mahasarakham: Mahasarakham University.

Rueangrong, P. (2019). Development of tablet-based learning model with problem based learning. Journal of Education Naresuan University, 21(1), 156-171.

Sumungkaset, A., & Masusai, N. (2019). Development of multimedia and wisdom culture of organic brown rice producing of community enterprise Banjan Moo 1 Tambol Non Na Jan, Na Khu District, Kalasin Province. Journal of Applied Information Technology, 5(1), 23-31

Sutthirat, C. (2012). Theories to practices. Bangkok: Chulalongkorn University.

Suwathanphonkun, I. (2018). Educational research concept and application. Bangkok: Chulalongkorn University.

Wiboolyasarin, W. (2013). Innovations and thai teaching and learning materials. Bangkok: Chulalongkorn University.

Worakham, P. (2012). Educational research (4th edition). Mahasarakham: Faculty of Education Mahasarakham University.

Woravat, T., Kanaphum, S., & Kosonkittiumporn, S. (2019). Factors affected the strength of Nawatwithi OTOP tourism community in nakhon ratchasima province. NEU Academic and research journal, 9(2), 71-80.