การพัฒนาชุดกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนากรอบความคิดเติบโตของนักเรียนระดับประถมศึกษา จังหวัดนครนายก

Main Article Content

กอบแก้ว บุญบุตร

บทคัดย่อ

กรอบความคิดเติบโตส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากทุกสถานการณ์และนำมาพัฒนาตนเองอย่างมีเป้าหมาย แสวงหาโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่เสมอ จึงวิจัยเชิงทดลองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนากรอบความคิดเติบโตของนักเรียนระดับประถมศึกษา จังหวัดนครนายก 2) ศึกษาประสิทธิผลของชุดกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนากรอบความคิดเติบโตของนักเรียนระดับประถมศึกษา จังหวัดนครนายก กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ นักเรียนระดับประถมศึกษา จังหวัดนครนายก จำนวน 100 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่ายแบบจับสลากแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 50 คน กลุ่มทดลอง 50 คน    โดยใช้ชุดกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนากรอบความคิดเติบโต และแบบวัดกรอบความคิดเติบโต วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนากรอบความคิดเติบโตของนักเรียนระดับประถมศึกษาประกอบด้วย ขั้นนำ ขั้นดำเนินการ และขั้นสรุป จำนวน 12 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที มีค่า IOC = 0.70 2) นักเรียนที่ได้รับชุดกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนากรอบความคิดเติบโต มีคะแนนกรอบความคิดเติบโตสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับชุดกิจกรรมกลุ่มภายหลังสิ้นสุดการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังพบว่า นักเรียนที่ได้รับชุดกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนากรอบความคิดเติบโตมีคะแนนกรอบความคิดเติบโตภายหลังสิ้นสุดการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งชุดกิจกรรมกลุ่มสามารถพัฒนากรอบความคิดเติบโตนักเรียนระดับประถมศึกษาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anderson, E. (2006). Growing great employees: Turning ordinary people into extraordinary Performers. USA: Galloard

Aodton, M. (2018). The Effects of the Growth Mindset Program in Upper Secondary School Students. Master’s Thesis. Burapha University. (in Thai)

Boonboot, K. (2020). The Enhancement of Adolescent Student’s Growth Mindset Through Integrative Group Counseling Program with Cognitive Behavioral Theory and Cognitive Group Activities. Doctor of Philosophy Program Department of Counseling Psychology, Faculty of Education, Burapha University.

Chatsupakul, K. (2003). Group Activities in Schools. (5th edition). Bangkok: Development Studies. (in Thai)

Dweck, C.S. (2006). Mindset: The New Psychology of Success. New York: Random House.

Dweck, C. S. (2007). Boosting Achievement with Messages that Motivate. Education Canada, 47(2), 6-10.

Dweck, C. S. (2012). Mindset: How You Can Fulfill Your Potential. London: Constable & Robinson.

Hattasak, M. (2009). Group Processes. (7th edition). Pathumthani: Bangkok University. (in Thai)

Pinagapung, S. & Nuangchalerm, P. (2018). Mathematics Instructional Model to Enhance Creative Problem Solving. Journal of Yala Rajabhat University, 13(2), 288-300. (in Thai)

Silpakit, C. Chomchuen, R. & Silpakit, O. (2015). The Validity Study of the Mindset Assessment Scale. Journal of Mental Health of Thailand, 23(3), 1-13. (in Thai)

Wannapayant, N. (2017). Teacher's Approach and Development of Students' Mindset. Hat Yai Academic Journal, 15(2), 185-195. (in Thai)