การพัฒนาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์กลุ่มเครือข่ายเตยหนามจักสานจังหวัดยะลาตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
หัตถกรรมงานจักสานปัจจุบัน มักมีความคล้ายคลึงกันทั้งในเรื่องรูปแบบและการนำไปใช้ประโยชน์ การสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ จึงมีความสำคัญและจำเป็นเพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบและการตัดราคา งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์กลุ่มเครือข่ายเตยหนามจักสานจังหวัดยะลา ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ลักษณะเป็นงานวิจัยและพัฒนา ที่ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การปฏิบัติการพัฒนา และการใช้แบบสอบถามจากกลุ่มเป้าหมายวิจัย ซึ่งได้แก่ ประธานและสมาชิกฝ่ายผลิตของ 4 ธุรกิจชุมชนกลุ่มเครือข่ายเตยหนามจักสานจังหวัดยะลา ผู้เชี่ยวชาญด้านงานพัฒนาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน และลูกค้าซี่งเป็นผู้ที่เคยซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์งานจักสาน ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่มและการปฏิบัติการพัฒนา จะถูกนำไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ เปรียบเทียบ และเขียนพรรณนาเชิงเหตุผล ส่วนข้อมูลจากแบบสอบถาม ประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป เพื่อทำการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยเป็นดังนี้ 1) การวางแผนพัฒนาพบว่า ผลการคัดเลือกอัตลักษณ์ป่าฮาลาบาลา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.17 ผังเมืองสวย (รูปใยแมงมุม) ร้อยละ 25.00 และกล้วยหิน ร้อยละ 25.00 สำหรับ 2) การดำเนินงานพัฒนาจากอัตลักษณ์ร่วม “ป่าฮาลาบาลา” นำมาซึ่งการพัฒนาผลงาน Set “Halagraph” Set “Halasin” Set “Halaline” และ Set “Halawa” 3) การสรุปผลการพัฒนา โดยภาพรวมลูกค้ามีความพึงพอใจต่อผลงานการพัฒนาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์กลุ่มเครือข่ายเตยหนามจักสานจังหวัดยะลาตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั้งหมดอยู่ในระดับมาก จึงมีข้อเสนอแนะสำหรับธุรกิจชุมชน และหน่วยงานที่ส่งเสริมธุรกิจชุมชน ให้ความสำคัญการพัฒนาธุรกิจหรือกลุ่มเครือข่ายธุรกิจตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
Boonrattanakittibhumi, C. (2014). Capacity entrepreneur of community enterprises in Thailand. Journal of Social Academic, 7(3), 103-117. (in Thai)
Chamnian, M. (2021). Community product identity to build and communicate brand: A case study of Ramtone Nokphithid Performance. Ratchaphruek Journal, 19(2), 1-12. (in Thai)
Institute for small and Medium Enterprises Development. (2012). 20 Creative identity. Pathumthani: Institute for small and Medium Enterprises Development. (in Thai)
Janin, P. (2015). Cluster’s competitiveness of the industrial business group in the northern region. Humanity and Social Science Journal, 21(1), 93-103. (in Thai)
Janla, J. (2020). Trust and the success of food processing clusters: A case study of Thasud subdistrict Chiang Rai province. Journal of Social Development, 22(2), 126-146. (in Thai)
Khunpol, S. (2015). The study of cultural identity in beliefs of Kohyor community. Parichart Journal, Thaksin University (Special edition), 28(3), 82-103. (in Thai)
Kotler, P. (2016). Marketing management (15th ed). New Jersey: Prentice-Hall International Inc.
Sirisupadilokpat, U. (2015). Characters of female chief executive of Thai Provincial Administrative Organizations. Bangkok: Sripatum University.
Taneeheng, A. & Arlae, S. (2018). The communication for managing establishment of local wisdom products from Pandanus Kaidus Kurz Wicker Work Handicraft Development Group, Pongbulo Village, Sateng Nok, Muang Yala, Yala Province. Yala : Yala Rajabhat University. (in Thai)
Tongbai, K., Esichaikul, R., Rungruangkulkit, W., Chunhapuntharuk, C. & Chansawang, R. (2018). An implementation of business cluster concept: A case study of The Gift and Decorative Industry Club, The Federation of Thai Industries. Electronic Journal of Open and Distance Innovative Learning, 8(2), 26-39. (in Thai)