กระบวนการจัดการสุขภาพแบบพื้นบ้านด้วยการใช้กิจกรรมเรือมมะม็วด ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-เขมร ในจังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ระบบสุขภาพถือเป็นระบบย่อยหนึ่งของระบบสังคม ที่มีความเกี่ยวพันกันของส่วนต่าง ๆ ทำหน้าที่เพื่อจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคคลในสังคมมีสุขภาวะที่ดี การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งทำความเข้าใจความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-เขมร ในจังหวัดศรีสะเกษที่มีต่อการจัดกิจกรรมเรือมมะม็วด และกระบวนการการตัดสินใจในการเลือกรักษาโรคตามวิธีทาง การแพทย์สมัยใหม่หรือการจัดการสุขภาพแบบพื้นบ้านด้วยการใช้กิจกรรมเรือมมะม็วดของกลุ่มชาติพันธุ์ ไทย-เขมร การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน มีพื้นที่การศึกษาเป็นหมู่บ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-เขมร จำนวน 6 หมู่บ้าน และมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 139 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ผลการศึกษามีดังนี้ 1) ด้านความเชื่อพบว่า มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 38.14 เท่านั้น ที่ยังคงมีความเชื่ออย่างไม่มีข้อสงสัยว่า “การจัดกิจกรรมเรือมมะม็วดสามารถช่วยบำบัดหรือรักษาผู้ป่วยได้” โดยครอบครัวที่จัดกิจกรรมเรือมมะม็วดให้ข้อมูลที่สอดคล้องกันว่า “การจัดกิจกรรมเรือมมะม็วด ไม่ใช่กิจกรรมที่จะจัดขึ้นเพื่อความสนุกสนาน รื่นเริง แต่เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพราะมีเหตุอันจำเป็นที่จะต้องจัดกิจกรรมนี้ขึ้น ไม่จัดไม่ได้” ซึ่งเหตุจำเป็นมี 4 ประเด็น ได้แก่ การเจ็บป่วยด้านร่างกาย ปัญหาด้านสภาพจิตใจ การบูชาครูกำเนิด และการแก้สิ่งที่บนบานไว้ และ 2) กระบวนการการตัดสินใจในการเลือกรักษาโรคตามวิธีทางการแพทย์สมัยใหม่หรือการจัดการสุขภาพแบบพื้นบ้านด้วยการใช้กิจกรรมเรือมมะม็วด พบว่า มากกว่าร้อยละ 80 ของบุคคลที่เคยใช้กิจกรรมเรือมมะม็วด ในฐานะเครื่องมือในการจัดการสุขภาพ มักจะใช้ระบบการแพทย์แผนปัจจุบันในการรักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยก่อนเสมอ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
Chaitawin, C. (2020). Community Health in ritual therapy regarding health cultural stability on ethnic diversity in Sisaket Province. SSKRU Research and Development Journal. 7(1), 64-86. (in Thai)
Duangmanee, K., Khojaroen, T., Jaitrong, P. & Pratoomkaew S. (2018). The study cultural identities of the four tribes in Sisaket Province. Final research reports. Ayutthaya : Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (in Thai)
Khattiya, N. (2007). Traditional medical care and treatment of the Lua hilltribe : a case study of Baanmai Shanjarern Phatung district, Maejan district, Chiangrai province. Master’s Thesis. Chulalongkorn University. (in Thai)
Numthong, T. (2008). Reum Mamuad: alternative for health management of Thai-Khmer ethnic groups. Master’s Thesis. Mahidol University. (in Thai)
Saisri, T. & Jirajarupat, P. (2020). Nora Rong Khru Rite of Song Pinong Silapa Ban Trang Troupe, Mayo District, Pattani Provine. RMUTSV Research Journal, 12(1), 72-85. (in Thai)
Society and Health Institute. (2016). Culture and health risks. Bangkok: Thai Health Promotion Foundation. (in Thai)
Srirat, S. (2010). Folk medicine of Hmong: A case study of Nong Hoi Royal Project Development Center, Mae Ram Sub-district, Mae Rim District, Chiang Mai Province. Final research reports. Chiang Mai : Chiang Mai University. (in Thai)
Tahom, U. & Senarat, S. (2021). Application of cultural capital and local community development in the northeastern region. Journal of Buddhist Studies Vanam Dongrak, 5(1), 15–24. (in Thai)
Teerapanyo, P., Sa-ard-iam, T. & Phra Rachawimonmoli. (2021). A Study of the influence of belief in ritual treatment (Jol Ma-Muat) of Thai-Khmer Buddhists descent, Prasat Distrec, Surin Province. Vanam Dongrak, 8(2), 75–86. (in Thai)