การส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาทรัพยากรน้ำเป็นฐาน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์และเพื่อศึกษาพัฒนาการเกี่ยวกับความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ ประชากรคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ใบกิจกรรม แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้และแบบวัดความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ โดยนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ ผู้สอนต้องเริ่มต้นการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์ที่อยู่ใกล้ตัวนักเรียนและมีความเกี่ยวข้องกับนักเรียน การออกแบบคำถามที่ใช้ในกิจกรรมจะต้องกระตุ้นการคิดและเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ที่นักเรียนต้องเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถพัฒนาความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการคิดหรือแปลงปัญหาทางคณิตศาสตร์มีพัฒนาการมากที่สุด รองลงมาคือด้านการใช้คณิตศาสตร์และด้านการตีความและประเมิน ตามลำดับ นอกจากนี้ ผู้สอนควรกำหนดบทบาทในการทำกิจกรรมกลุ่มและลำดับการนำเสนอให้ชัดเจน อีกทั้งดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดในแต่ละขั้นตอนและให้คำแนะนำที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
Farhan, M., Satianingsih, R. & Yustitia, V. (2021). Problem based learning on literacy mathematics: experimental study in elementary school. Journal of Medives: Journal of Mathematics Education IKIP Veteran Semarang, 5(1), 118-128.
Inprasitha, M. (2016). Documents for lectures in workshops for school personnel in the Mathematics higher thinking development project for students in the northeastern region on October 28, 2016. Khon Kaen: Mathematics Education Research Center. (in Thai)
Jader, J., Lithner, J. & Sidenvall, J. (2020). Mathematical problem solving in textbooks from twelve countries. International Journal of Mathematical Education in Science and Technology, 51(7), 1120-1136.
Khamanee, T. (2017). Pedagogical sciences: Knowledge for organizing effective learning processes. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. (in Thai)
Kijkuakul, S. (2014). Science learning management: A direction for 21st century teachers. Phetchaboon: Julidis Printing. (in Thai)
Mandee, T., Panjaikaew, S. & Wongchetta, K. (2021). Problem-base learning management to enhance the creative thinking skills. Panya Journal, 28(2), 173-182. (in Thai)
National Institute of Educational Testing Service. (2021). O-NET report with a map of Thailand [Online]. Retrieved September 14, 2022, from : https://www.niets.or.th/th/catalog/view/3121. (in Thai)
Pimsang, J., & Sata, P. (2022). Development of learning management plan by using the open approach, mathematics learning substance, on addition and subtraction amount of solution not more than 10 for grade 1 students. Journal of Intellect Education, 1(6), 16-30. (in Thai)
Thairath Online. (2021). Sukhothai, in-depth in the 9 economic areas of the subdistrict, "Uncle Tu" visits the area tomorrow [Online]. Retrieved September 16, 2022, from : https://www.thairath.co.th/news/local/north/2203085. (in Thai)
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2021). PISA 2018 assessment results reading, mathematics and science. Bangkok: IPST. (in Thai)
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2017). course manual mathematics learning group junior high school. Bangkok: IPST. (in Thai)
The Organisation for Economic Co-operation and Development. (2018). PISA for development assessment and analytical framework: Reading, Mathematics and Science. OECD Publishing.
Thepnuan, D. (2013). The development of interpersonal relationships and responsibility of Chiang Mai Rajabhat University students by using group process teaching technique. Rajabhat Chiangmai Research Journal, 14(12), 97–108. (in Thai)
Wulandari S, C. (2016). Group process approach in mathematics learning. International Conference on Education (IECO) Proceeding, 1, 352-360.