หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ : เสียงสะท้อนจากผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

อดิศา เบญจรัตนานนท์
วิมลรัตน์ รัตนญาติ

บทคัดย่อ

ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษานั้น แม้ว่าจะมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่กลุ่มที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการปรับปรุงหลักสูตรคือกลุ่มผู้เรียนในฐานะลูกค้าหรือผู้ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการด้านการศึกษา ดังนั้นเสียงของผู้เรียนเป็นดั่งภาพสะท้อนที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนโดยตรง งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ผ่านมุมมองของนักศึกษาในหลักสูตรจำนวน 90 คน ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 47 คน และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 43 คน ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลในฐานะนักศึกษาฝึกงานของหลักสูตรฯ ด้วย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ (1) แบบสอบถามนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ของหลักสูตรฯ (2) แบบสอบถามนักศึกษาฝึกงาน และ (3) แบบสัมภาษณ์นักศึกษาฝึกงาน ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าภาพรวมโครงสร้างและรายวิชาเอกในหลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนในระดับมาก โดยรูปแบบหลักสูตรที่ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ต้องการคือ หลักสูตรที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning มีรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงหรือได้รับประสบการณ์จริงเพื่อเรียนรู้กระบวนการทำงานและพัฒนาทักษะทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพหลักสูตรที่สอดรับกับสภาวการณ์ปัจจุบันและตลาดแรงงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Alismail A., H. & McGuire, P. (2015). 21st century standards and curriculum: current research and practice. Journal of Education and Practice, 6(6), 150-154.

Anjum, S. (2020). Impact of internship programs on professional and personal development of business students: a case study from Pakistan. Future Business Journal, 6(1), 1-13.

Benjarattananon, A. (2017). Satisfaction of the establishments for the English major trainee students, Faculty of Humanities and Social Sciences, Prince of Songkla University. Academic Services Journal Prince of Songkla University, 28(2), 184-194. (in Thai)

Chantaduang, K., Sutakote, C. & Toochaleesrithin, S. (2020). An evaluation of Sakon Nakhon Rajabhat University’s Bachelor of Business English curriculum (revised 2012). Journal of Graduate School, 17(76), 10-16. (in Thai)

Gagalang, J. L. (2020). Employers’ perspectives on English-major graduates’ attributes, skills, and personal qualities. PalArch’s Journal of Archaeology of Egypt / Egyptology, 17(2), 460-472.

Jiropas, A. & Lapi-e, A. (2021). The curriculum evaluation on Bachelor Degree of Public Administration Program, Faculty of Humanities and Social Science Thaksin University. School of Administrative Studies Academic Journal 4(2), 65-83. (in Thai)

Phonok, C. (2016). Thaksa haeng satawat thi 21 [Online]. Retrieved May 10, 2022, from: http://www.royin.go.th/?knowledges. (in Thai)

Prince of Songkla University, Pattani Campus. (2022). About PSU: Vision, mission, and determination. Retrieved March 28, 2022, from: http://www.pn.psu.ac.th/web/?page=introduce2

Ulla M., B. & Winitkun, B. (2017). Thai learners’ linguistic needs and language skills: implications for curriculum development. International Journal of Instruction, 10(4), 203-220.

Wichiranon, S., Arunreung, A., & Kaewlai, J. (2019). The 21st century skills of English for International Communication graduates desired by employers. RMUTP Research Journal Humanities and Social Sciences 4(2), 15-28. (in Thai)

Wrahatnolo, T. & Munoto. (2018). 21st centuries skill implication on educational system. IOP Conf. Ser.: Materials Science and Engineering, 296, 012036.