การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทนโดยใช้สื่อการสอนเสมือน สำหรับการส่งเสริมสมรรถนะของนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีพลังงานทดแทนมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงมุ่งให้ผู้เรียนมีสมรรถนะ และคุณลักษณะที่จำเป็นในวิชาชีพด้านเทคโนโลยี อันเป็นการสร้างรากฐานความมั่นคงอย่างหนึ่งของประเทศ ผู้วิจัยในฐานะผู้สอนจึงสนใจหาวิธีการพัฒนาผู้เรียนไปสู่ความคาดหวังดังกล่าวด้วยการทำวิจัยนี้ขึ้น เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทนสำหรับส่งเสริมสมรรถนะของนักศึกษา รวมทั้งเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและสมรรถนะของผู้เรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จำนวน 26 คน ที่มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย ชุดการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและสมรรถนะ เก็บข้อมูลด้วยการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสัดส่วนคะแนนร้อยละระหว่างเรียนและหลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด 75/75 2) ค่าที ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า 1) ชุดการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( =4.49, S.D.=0.57) 2) ประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้เท่ากับ 77.16/75.72 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) สมรรถนะของผู้เรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 76.55 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ชุดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสมรรถนะตามที่หลักสูตรกำหนดได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
Bloom, B.S. (1982). Human characteristics and school learning. New York: Mc Graw–Hill Book.
Friman, H. & Matsliah, N. (2021). Moodle platform and online renewable energy laboratory at faculty of electrical engineering. In The proceedings of the 14th International Conference on Interactive Mobile Communication, Technologies and Learning. November 4-5, 2021. Greece. ieeexplore.ieee.org.
Guo, L., Abdul, N. M. M., Vengalil, M., Wang, K. & Santuzzi, A. (2022). Engaging renewable energy education using a web-based interactive micro-grid virtual laboratory [Online]. Retrieved December 25, 2023, from: https://ieeexplore.ieee.org/stamp/stamp.jsp?tp=&arnumber=9791230.
Klinbumrung, K. (2020). Effective teaching management through cooperative online learning activities for engineering education. In The proceedings of the 5th International STEM Education Conference (iSTEM-Ed). November 4-6, 2020. Thailand: ieeexplore.ieee.org.
Klinbumrung, K. (2020). Effective teaching management through cooperative online learning activities for engineering education. In The proceedings of the 5th International STEM Education Conference (iSTEM-Ed). November 4-6, 2020. Thailand: ieeexplore.ieee.org.
Noulnoppadol, S., Intarawiset, N. & Akatimagool, S. (2022). Learning and teaching activity management using research-based learning model for telecommunication engineering education. Technical Education Journal King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 13(1), 51-63. (in Thai)
Office of the Education Council Secretariat. (2017). The National Education Plan 2017-2036. Bangkok: Prikwan Graphic. (in Thai)
Phacharoen, E. & Akatimagool, S. (2024). Development of RISDA simulation based learning model for industrial electronics education. Journal of Education and Innovation, 26(1), 398-411. (in Thai)
Promwong, C. (2013). Efficiency testing of media or instructional packages. Silpakorn Educational Research Journal, 5(1), 7-20. (in Thai)
Ruangsiri, K. & Akatimagool, S. (2020). Development of P-PIADA based disciplinary integrated teaching model on communication network analysis for electrical engineering education. Journal of Education Naresuan University, 24(3), 97–102. (in Thai)
Saovakhon, S. & Akatimagool, S. (2023). Solar cell system simulation for renewable energy learning innovation. In The proceedings of the 8th International STEM Education Conference (iSTEM-Ed). September 20-22, 2023. Thailand: ieeexplore.ieee.org.
Saovakhon, S., Chumchuen, N. & Akatimagool, S. (2020). Development of RESPA learning model for renewable energy technology education. In The proceedings of the 12th National Conference on Technical Education, March 25, 2020. Bangkok: King Mongkut's University of Technology North Bangkok. (in Thai)
Srisaard, B. (2002). Teaching Development. 5th edn. Bangkok: Ragdek Club. 2002(63-71). (in Thai)
Tupsai, J. (2021). Integration STEM education for students' competencies in the 21st. Journal of Buddhist Education and Research: JBER., 7(2), 288-299. (in Thai)