การพัฒนาเครื่องมือวัดและเกณฑ์มาตรฐานความฉลาดในการเล่นสำหรับเด็กไทยอายุ 7-12 ปี

Main Article Content

สมพร โกมารทัต
ชัชชัย โกมารทัต

บทคัดย่อ

การเล่นมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็ก การเล่นอย่างฉลาดมีประโยชน์ต่อพัฒนาการด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม การที่จะรู้ว่ามีความฉลาดในการเล่นอยู่ในระดับใดจำเป็นต้องมีเครื่องมือวัด การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดและเพื่อสร้างเกณฑ์มาตรฐานความฉลาดในการเล่นสำหรับเด็กไทยอายุ 7-12 ปี จำแนกตามอายุและเพศ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6  อายุ 7-12 ปี จำนวน 1,355 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า เครื่องมือวัดความฉลาดในการเล่นสำหรับเด็กไทยอายุ 7-12 ปี ประกอบด้วยรายการทดสอบ 4 รายการ คือ (1) วิ่งซิกแซกสลับวิ่งตรงเก็บของเหมือน (2) ขว้าง-รับ สลับเตะ-รับลูกบอลกระทบผนัง (3) วิ่งใส่เหรียญในกระป๋องตามคำสั่ง และ (4) วิ่งวิบาก เครื่องมือวัดนี้มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาโดยการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิมีค่า IOC ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าความตรงเชิงโครงสร้างมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01 และมีค่าความเที่ยงระหว่าง 0.74 - 0.85 เกณฑ์มาตรฐานความฉลาดในการเล่นของเด็กไทยอายุ 7-12 ปี จำแนกตามอายุและเพศ 5 ระดับคือ ดีมาก ดี ปานกลาง ต่ำ และต่ำมาก เครื่องมือวัดและเกณฑ์มาตรฐานความฉลาดในการเล่นจากการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้วัดและบอกระดับความฉลาดในการเล่นของเด็กอายุ 7-12 ปี ทั้งเพศชายและหญิง ทำให้ทราบข้อเด่น ข้อด้อยในองค์ประกอบย่อยของความฉลาดในการเล่น เพื่อนำไปสร้างและพัฒนาความฉลาดในการเล่นของเด็กส่งผลให้เด็กไทย มีการพัฒนาความฉลาดในการเล่นที่เหมาะสมกับวัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Auerbach, S. (2014). Dr.toy’ s smart play smart toys book. California: Regent Press.

Bruce, T. (2011). Learning through play: for babies, toddlers and young children (2nd ed). London: Hodder Education.

Daniel, D., Christine, V & Gavin, R. (2015). Fitness testing for children. Journal of Physical Activity and Health, 2015, 12, 597-603.

Gardner, H. (1995). Multiple intelligences: the theory in practice. London: Basic Books.

Marzollo, J. & Lloyd, J. (1984). Learning through play. London: HarperCollins Publishers Ltd.

Physical Activity Research Center (2023). Let's get to know how active play can develop the brain. [online] Retrieved November 15, 2023, from: https://socialmarketing.thaihealth.or.th. (in Thai)

Scott, G. (2020). Physical intelligence: the science of how the body and the mind guide each other through life. New York: Pantheon Books.

Tester, G. & Timothy, R. (2014). A 30-year journey of monitoring fitness and skill outcomes in Physical Education: Lessons learned and a focus on the future. Advances in Physical Education, 4(3), 127-137.

Thai Health Promotion Foundation (2024). Balance triangle. [online] Retrieved November 15, 2023, from: https://www.thaihealth.or.th/tag. (in Thai)

Whitebread, D. (2012). The importance of play. Belgium: Toy Industries of Europe.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd Ed.). New York: Harper & Row Ltd.