ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

สุรีย์ โบษกรนัฏ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของคุณลักษณะบริษัทที่ส่งผลต่อการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืนและมูลค่ากิจการในภาพรวมของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (๒) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของคุณลักษณะบริษัทที่ส่งผลต่อการเปิดเผยข้อมูลรายงานความความยั่งยืนและมูลค่ากิจการในรายปีของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบผสม ๓ วิธีได้แก่ วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลทุติยภูมิด้วยแบบบันทึกข้อมูลจากงบการเงินและข้อมูลในรายงานประจำปี ๕๖-๑ ปีพ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๓ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน ๒๖๓ บริษัท การวิเคราะห์ข้อมูลและการทดสอบสมมติฐานใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุ และการสัมภาษณ์เจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน ๖ คน จากหน่วยวิเคราะห์ ๒๖๓ บริษัทด้วยแบบสอบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


     ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะบริษัท ประกอบด้วย โครงสร้างผู้ถือหุ้น ขนาดบริษัท สัดส่วนผู้ถือหุ้น และสัดส่วนของคณะกรรมการอิสระมีอิทธิพลต่อการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืน ขนาดบริษัท และโครงสร้างผู้ถือหุ้นมีอิทธิพลต่อการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม สัดส่วนของคณะกรรมการอิสระ และสัดส่วนของผู้ถือหุ้นมีอิทธิพลต่อการเปิดเผยข้อมูลการรายงานความยั่งยืนด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม โครงสร้างผู้ถือหุ้นมีอิทธิพลต่อมูลค่ากิจการด้วยการวัดจากมุมมองภายนอก (อัตราส่วนราคาต่อหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น) สัดส่วนของผู้ถือหุ้นมีอิทธิพลต่อมูลค่ากิจการด้วยการวัดจากมุมมองภายใน (อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น) และการเปิดเผยข้อมูลการรายงานความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจและด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อมูลค่ากิจการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

Article Details

How to Cite
โบษกรนัฏ ส. “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 9, ฉบับที่ 2, สิงหาคม 2022, น. 109-25, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/258638.
บท
บทความวิจัย

References

นงลักษณ์ วิรัชชัย. หลักการและวิธีการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ. กรุงเทพมหานคร: เอกสารประกอบการฝึกอบรม สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๕๑.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์. เทคนิคการออกแบบการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: เอกสารประกอบการฝึกอบรม สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๕๑.

วลัยทิพย์ สาชลวิจารณ์. เทคนิคการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: เอกสารประกอบการฝึกอบรม สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๕๑.

ศิลปพร ศรจั่นเพชร. “ทฤษฎีบรรษัทภิบาล”. วารสารบริหารธุรกิจ. ปีที่ ๓๑ ฉบับที่ ๑๒๐ (ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๕๑) : ๒-๔.

Adelopo, I. “Voluntary Disclosure Practices among Listed Company in Nigeria. Advances in Accounting”. Incorporating Advances in International Accounting. Vol 27 (2011) : 338-345.

Chan, Z.C.Y., Fung, Y.I. & Chien, W.T. “Bracketing in Phenomenology: Only Undertaken in the Data Collection and Analysis Process”. The Qualitative Report. Vol. 18 No. 30 (2013).

Chen, J.C. & Roberts, R.W. “Toward a More Coherent Understanding of the Organisation-Society Relationship: A Theoretical Consideration for Social and Environmental Accounting Research”. Journal of Business Ethics. Vol. 97 (2010) : 651-665.

Christensen, L.B., Johnson, R.B. & Turner, L.A. Research Methods. Design and Analysis. 12th Edition. (2014).

Cohen, J. R., Holder, L.L., Nath, W.N. & Wood, D. “Corporate Reporting of Nonfinancial Leading Indicators of Economic Performance and Sustainability”. Accounting Horizons. Vol. 26 No. 1 (June 2011) : 65-90.

Dillard, J., Brown, D., & Marshall, S. “An Environmentally Enlightened Accounting”. Accounting Forum. Vol. 29 (2005) : 77-101.

Gamerschlag, R., Moller, K. & Verbeeten, F.H.M. “Determinants of voluntary CSR disclosure: Empirical evidence from Germany”. Review of Managerial Science. Vol. 5 No. 2 (July 2010) : 233-262.

Hackston, D. & Milne, M. J. “Some Determinants of Social and Environmental Disclosures in New Zealand Companies”. Accounting, Auditing and Accountability Journal. Vol. 9 No. 1 (1996) : 77-108.

Haniffa, R. & Cooke, T. “The Impact of Culture and Governance on Corporate Social Reporting”. Journal of Accounting and Public Policy. Vol. 24 No. 1 (2005) : 391–430.

Herzig, C. & Schaltegger, S. Corporate Sustainability Reporting. In Sustainability Communication. 151-169. Dordrecht: Springer Netherlands. [Online]. Available https://doi.org/10.1007/978-94-007-1697-1_14. (2011).

Marshall, C. & Rossman, G.B. “Designing Qualitative Research”. Forum: Qualitative Social Research. Vol. 9 No. 3 (2008) : 101-107.

Mc-Colgan Patrick. Agency Theory and Corporate Governance: A Review of the Literature from a UK. Perspective. [Online]. Available https://accfinweb.account.strath.ac.uk/wps/ journal.pdf (10 June 2008).

Skinner D. J. “Should Firms Disclosure Everything: A Discussion of Open vs. Closed Conference Calls: The Determinants and Effects of Broadening Access to Disclosure”. Journal of Accounting and Economics. Vol. 34 No. 1-3 (2003) : 181-187.

Weber, M. “The Business Case for /corporate Social Responsibility: A Company Level Measurement Approach for CSR”. European Management Journal. Vol. 26 No. 4 (2008): 247-261.

Wilmshurst, T. & Frost, G. “The Role of Accounting and the Accountant in the Environmental Management System”. Business Strategy and the Environment. Vol. 10 No. 3 (May 2001) : 135-147.

Zarzeski, M. T. & Robb S. “Counting More Than Number”. Accountancy Journal. Vol. 128 No. 1 (2001) : 114-116.