ผลการใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการอ่าน KWL-Plus ที่ส่งผลต่อทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนสุเหร่าทางควาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการอ่าน KWL-Plus ร่วมกับแบบฝึกทักษะ (๒) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการอ่าน KWL-Plus ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๗ โรงเรียนสุเหร่าทางควาย สำนักงานเขตประเวศ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน ๒๕ คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (๑) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการอ่าน KWL-Plus ร่วมกับแบบฝึกทักษะ (๒) แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ (๓) แบบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ (๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการอ่าน KWL-Plus ร่วมกับแบบฝึกทักษะ โดยวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงบรรยาย ประกอบด้วยค่าเฉลี่ยคะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจากแบบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้สถิติ t-test แบบ Dependent
ผลการวิจัยพบว่า (๑) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการอ่าน KWL-Plus ร่วมกับแบบฝึกทักษะ มีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ (๒) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการอ่าน KWL-Plus ร่วมกับแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๙๗ และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๑๖
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณัฐนันท์ โม้พิมพ์. “การจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ที่มีต่อความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖”. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ๒๕๖๕.
ธนรัตน์ พุ่มประกอบศรี. “การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค KWL ร่วมกับผังกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, ๒๕๖๓.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น, ๒๕๖๐.
พงศ์ทวี ทัศวา. “การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านของนักศึกษาหลังเรียนโดยใช้กลวิธีการสอนอ่านแบบ KWL-Plus”. Journal of Roi Kaensarn Academi. ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๓. (มีนาคม ๒๕๖๕) : ๑๖๔-๑๗๔.
พรวิมล ปานทอง. “การพัฒนาการเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ โดยใช้เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖”. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ๒๕๖๐.
ฟาฏินา วงศ์เลขา. “กลไกขับเคลื่อนการศึกษา...ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน”. ใน หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. ฉบับวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๓.
ราตรี นางงาม. “การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเพื่อจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, ๒๕๕๑.
รัชนี ศรีไพวรรณ. การสอนกลุ่มทักษะ ๒ (ภาษาไทย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๒๗.
รินทร์ลภัส เฉลิมธรรมวงษ์. “การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๖ ด้วยการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWLPlus”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๗.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, ๒๕๕๑.
สุนิจ โนรีรัตน์. “การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๖ โดยใช้โครงสร้างระดับยอด”. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ๒๕๕๕.
Carr and Ogle. “KWL Plus: A strategy for comprehension and summarization”. Journal of Reading. Vol.30 No.7. (1987).
Lawrey, Eleanor Blodwyn Lane. “The Effects of Four Drills and Practice Time Unit on The Recording Performances of Students with Specific Learning Disabilities”, Dissertation Abstracts International. Vol. 39 No.70 (August 1978): 817-A.
Nunan, D. Second Language Teaching and Learning. Boston: Heinle and Heinle, 1999.
Pearson, D. & Johnson, D. Teaching Reading Comprehension. New York: Holt, Rinehart & Winston, 1978.
Zalisman, Z., & Astafi, R. “Improving Students’ Reading Comprehension Through “KWL Plus” Technique at SMAN 2 Kampar”. Journal Keagamaan dan Pendidikan. Vol. 17 No.2. (2021).