การวัดและประเมินผลทางการศึกษากับการปรับเทียบคะแนน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวัดประเมินผลทางการศึกษา คือกระบวนการหนึ่งในการจัดการศึกษา เพื่อใช้ในการตรวจสอบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สามารถทำให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายของการจัดการศึกษา ด้วยการ ใช้วิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย ส่วนการปรับเทียบคะแนนเป็นการนำวิธีการทางสถิติมาใช้ ในการทำให้แบบสอบต่างฉบับที่วัดในเนื้อหาเดียวกัน เพื่อให้คะแนนจากแบบทดสอบต่างฉบับสามารถเทียบแทนกันได้ เพื่อก่อให้เกิดความยุติธรรมกับผู้เข้าสอบทุกคน โดยมีเป้าหมายหลักของการวัดและประเมินผลทางการศึกษา แบ่งเป็นหลักใหญ่ ๕ ประการ คือ (๑) เพื่อการจัดตำแหน่ง (๒) เพื่อการวินิจฉัย (๓) เพื่อดูพัฒนาการ ในการเรียนรู้ของผู้เรียน (๔) เพื่อการพยากรณ์ เป็นการนำผลการเรียนรู้ ที่ได้ในปัจจุบันไปทำนายอนาคต และ (๕) เพื่อการตัดสินหรือประเมินค่า และการปรับเทียบคะแนนเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาเชิงลึกต่อไป
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พริกหวานกราฟฟิค จำกัด, ๒๕๔๕.
ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่(ฉบับปรับปรุง) กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ตำรา เอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๕.
สุโขทัยธรรมาธิราช. การวัดและประเมินอิงมาตรฐานการเรียนรู้. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๕๕.
สุโขทัยธรรมาธิราช. สถิติ วิจัย และประเมินผลการศึกษา. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๕๔.
สุโขทัยธรรมาธิราช. การวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับประถมศึกษา. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๕๑.
Angoff. W.H. Scales, Norms and Equivalent Score. Educational Measurement, 1971.
Holland, P.W., and Donald B Rubin, Test Equating. New Jersey: Education Testing Service, Princeton, academic Press, 1982.
Kolen, M.J. and Brennan, R.L. Test equating, scaling, and linking, 2nd, New York: Springer, 2004.
Lord, F.M. Application of item Response Theory to Practical Testing Problems. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates inc.1980.