อรรถกถาธรรมบทในสังคมไทย

Main Article Content

สมิทธิพล เนตรนิมิตร

บทคัดย่อ

     อรรถกถาธรรมบทเป็นหนังสืออธิบายบทธรรม ที่มาในขุททกนิกาย สำนวนที่คณะสงฆ์ไทยใช้เป็นคู่มือเรียนบาลีเป็นสำนวนที่พระจุลลพุทธโฆสะเรียบเรียงมาจากสัทธรรมรัตนาวลี ของพระธรรมเสนเถระ เมื่อ พ. ศ. ๑๘๐๐ ในลังกา เนื้อหาครอบคลุมพุทธธรรม โดดเด่นทางไวยากรณ์บาลี องค์ความรู้ด้านอื่น เช่น ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ปรัชญา เป็นต้น ผู้แต่งให้ความสำคัญไวยากรณ์บาลี ถ้าผู้เรียนไม่เข้าใจไวยากรณ์จะไม่เข้าใจภาษาและความหมาย การอธิบายมีอุปมาอุปไมย มีตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจชัดขึ้น อธิบายนามธรรมให้เห็นเป็นรูปธรรม จบลงด้วยพุทธสุภาษิต


        ไวยากรณ์ถือได้ว่าเป็นมาตรฐาน อรรถกถาธรรมบทจึงเป็นแบบอย่างของผู้เรียนบาลี วิชาสัมพันธ์ไทย วิชาแปลมคธเป็นไทย และ วิชาแปลไทยเป็นมคธ

Article Details

How to Cite
เนตรนิมิตร ส. “อรรถกถาธรรมบทในสังคมไทย”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 3, ฉบับที่ 1, สิงหาคม 2018, น. 36-61, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/141641.
บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ธมฺมปทฏฺฐกถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๙.

สมิทธิพล เนตรนิมิตร. รายงานการวิจัยเรื่อง บาลีศึกษาในอรรถกถาธรรมบท. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอมี่เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๕๖.

G.P. Malalasekera. Pali Literature of Ceylon 2nd. Delhi: G.S. Offset Printers, 2010.

Hazra, K.L. Studies on Pali Commentaries 2nd. New Delhi: D.K. Publishers Distributor, 1991.