รูปแบบสมการโครงสร้างการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวตามหลักพุทธจิตวิทยา

Main Article Content

พวงชมนาถ จริยะจินดา
พุทธชาติ แผนสมบุญ

บทคัดย่อ

    บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวตามหลักพุทธจิตวิทยา ๒) เพื่อพัฒนากรอบสมการโครงสร้างการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวตามหลักพุทธจิตวิทยาและ ๓) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบสมการโครงสร้างการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวตามหลักพุทธจิตวิทยากับข้อมูลเชิงประจักษ์ ใช้การวิจัยแบบผสมวิธี โดยที่ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๒๐ รูป/คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๒๒๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคำถามในการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณแบบสถิติบรรยาย และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวตามหลักพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย ๖ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) การเผชิญปัญหา ๒) ค้นคว้าความต้องการ ๓) ประสานเครือข่ายช่วย ๔) ดูแลด้วยหลักภาวนา ๔ ๕) มีการพัฒนาตน และ ๖) มุ่งประเมินผลตนเองและสมการโครงสร้างการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวตามหลักพุทธจิตวิทยาที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยสรุป ผู้สูงอายุจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้เป็นผลจากคุณลักษณะของผู้ดูแลที่มีหลักอิทธิบาท ๔ โดยส่งผ่านการดูแลผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยา

Article Details

How to Cite
จริยะจินดา พ. ., และ แผนสมบุญ พ. “รูปแบบสมการโครงสร้างการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวตามหลักพุทธจิตวิทยา”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 7, ฉบับที่ 1, กุมภาพันธ์ 2020, น. 119-31, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/177291.
บท
บทความวิจัย
Author Biography

พวงชมนาถ จริยะจินดา, นักวิชาการอิสระ

0817537846

References

นันทิยา ใจเย็น. “แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่พิการในพื้นที่ของเทศบาลตําบลท่าไม้ อําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี”. การค้นคว้าอิสระวิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๗.

นารีรัตน์ จิตรมนตรี วิไลวรรณ ทองเจริญ และ สาวิตรี ทยานศิลป์. “ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดีของครอบครัวและชุมชนเมืองและกรุงเทพมหานคร”. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, ๒๕๕๒.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๑๒. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ ๔๑. กรุงเทพมหานคร: ผลิธัมม์ในเครือบริษัท สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด, ๒๕๕๘.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.๒๕๕๙. นครปฐม: บริษัท พริ้นเทอรี่ จำกัด, ๒๕๖๐.

รัถยานภิศ พละศึก และเบญจวรรณ ถนอมชยธวัช. “ตัวแบบของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ”. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓ (กันยายน-ธันวาคม๒๕๖๐) : ๑๔๗.

ลำพอง กลมกูล. “อิทธิพลของกระบวนการสะท้อนคิดต่อประสิทธิผลการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน: การวิจัยแบบผสมวิธี”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๔.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. ผู้ดูแลผู้สูงอายุ: การสังเคราะห์องค์ความรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๗.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร และคณะ. “ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดีของครอบครัวและชุมชนชนบทไทย”. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, ๒๕๕๒.

สมบูรณ์ วัฒนะ. การดูแลบิดามารดาสูงอายุตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาของครอบครัวไทยพุทธ. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่๑๐ ฉบับที่ ๒ (เมษายน-มิถุนายน ๒๕๖๐): ๗๘.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๖๐.