วิเคราะห์การพัฒนามนุษย์ตามหลักพุทธธรรม

Main Article Content

ไกรวุฒิ มะโนรัตน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ๓ ประการ คือ ๑)  เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์ตามหลักพุทธธรรม ๒) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนามนุษย์ตามหลักพุทธธรรม ๓) เพื่อวิเคราะห์พุทธธรรมเกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร


             ผลการวิจัยพบว่า ตามหลักพระพุทธศาสนา มนุษย์ทุกคนมีความสามารถหรือศักยภาพในการที่จะพัฒนาจิตของตนให้เกิดปัญญาจนบรรลุถึงนิพพานได้โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเพศ อายุ เชื้อชาติ วรรณะ และพื้นความรู้


             การพัฒนามนุษย์ คือ การทำให้มนุษย์เจริญขึ้นด้วยการพัฒนาให้ครบ ๔ ด้าน ๑) กายภาวนา การพัฒนาอินทรีย์ทั้งหลายให้มีความเจริญงอกงามเพื่อให้รู้จักการใช้อินทรีย์อย่างเหมาะสม ไม่ก่อความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและบุคคลอื่น ๒) สีลภาวนา การพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมให้ยอมรับ เคารพ ในกฏเกณฑ์ กติกา จรรยา ของสังคม ๓) จิตตภาวนา การพัฒนาจิตให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข็มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุข ผ่องใส พร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ พร้อมที่จะเสียสละเพื่อส่วนรวม ๔) ปัญญาภาวนา การพัฒนาปัญญาให้รู้เท่าทันสรรพสิ่งตามความเป็นจริงจนมีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์


             การพัฒนามนุษย์ในพระพุทธศาสนาถือว่า จิตเป็นตัวคอดกำหนดพฤติกรรม และเป็นเหตุให้เกิดนามรูป การพัฒนามนุษย์ในทางพระพุทธศาสนา จึงอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาจิต ด้วยการปฏิบัติตามหลักของศีล สมาธิ และปัญญา ปัญญาที่ได้จากการพัฒนาจิต นำไปสู่เป้าหมายของสุดคือนิพพานซึ่งเป็นการพัฒนามนุษย์อย่างสมบูรณ์

Article Details

How to Cite
มะโนรัตน์ ไ. “วิเคราะห์การพัฒนามนุษย์ตามหลักพุทธธรรม”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 6, ฉบับที่ 2, พฤศจิกายน 2019, น. 17-29, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/185284.
บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ และคณะ. ความรู้พื้นฐานทางศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๔๐.

พระครูอุดมจันทวรรณ. “การพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพุทธบูรณาการของประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๑): ๒๑๙.

พระพุทธโฆสาจารย์. วิสุทฺธิมคฺคสฺส นาม ปกรณวิเสสสฺส ปฐโม ภาโค. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓.

พระพุทธโฆสาจารย์. วิสุทฺธิมคฺคสฺส นาม ปกรณวิเสสสฺส ตติโย ภาโค. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ ๖. โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๕๐.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พระพุทธศาสนา พัฒนาคนและสังคม. โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๔๙.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร (พุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์). พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มูลนิธิพุทธธรรม, ๒๕๓๙.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). ธรรมกับการพัฒนาชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มูลนิธิพุทธธรรม, ๒๕๓๙.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต).การศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มูลนิธิพุทธธรรม, ๒๕๔๒.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต).พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ ๓๓. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ผลิธัมม์, ๒๕๕๕.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). ชีวิตที่เป็นอยู่ดีด้วยมีการศึกษาทั้ง ๓ ที่ทำให้พัฒนาครบ ๔. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ธรรมสภา, ๒๕๔๔.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). วินัยเรื่องใหญ่กว่าที่คิด. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มูลนิธิพุทธธรรม, ๒๕๓๘.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พระพุทธศาสนากับการแนะแนว. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มูลนิธิพุทธธรรม, ๒๕๓๙.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มูลนิธิพุทธธรรม, ๒๕๓๙.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

สุภีร์ ทุมทอง. การพัฒนาอินทรีย์สังวร. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน), ๒๕๓๙.

สุวัฒน์ จันทรจำนง. ปรัชญาและศาสนา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, ๒๕๔๐.

โสภณ ศรีกฤษตาพร. ความคิดเรื่องมนุษย์ในพุทธปรัชญา. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ, ๒๕๓๐.

อเนก คงขุนทด, พันโท. “แนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา”. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๓ (กันยายน – ธันวามคม ๒๕๕๙): ๗๗.