รูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาการท่องเทียวอย่างยั่งยืน รูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานการท่องเทียวเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาสภาพห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในจังหวัดนครศรีธรรมราช ๒) พัฒนารูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครศรีธรรมราช ๓) ประเมินและยืนยันรูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่ม ๓ ภาคี ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ได้แก่ ผู้แทนจากองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จำนวน ๓๔๐ คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model : SEM) ผลการวิจัย พบว่า ๑) สภาพห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีองค์ประกอบ ๔ ด้าน คือสภาพห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเกี่ยวกับปัจจัยทางด้านต้นน้ำ ด้านสภาพห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเกี่ยวกับปัจจัยทางด้านกลางน้ำ ด้านสภาพห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเกี่ยวกับปัจจัยทางด้านปลายน้ำ และ การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ๒)ผลการพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเป็นไปตามรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการจัดการห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยว และ ๓) แบบจำลองสมการโครงสร้างของห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
Article Details
References
ทัศนีย์ สิราริยกุล. “การจัดการโซ่อุปทานสำหรับการท่องเที่ยวในชุมชนบ้านเชียงจังหวัดอุดรธานี”. วารสารรัชต์ภาคย์. ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๒๔ (กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๐).
ปณัชญา ลีลายุทธ และ บุญเลิศ โอฐสู. “จริยธรรมและจรรยาบรรณสื่อมวลชนยุคสื่อดิจิทัล”. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. ปีที่ ๑๓ ฉบับที่ ๒ (พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๖๐): ๑๗๖-๑๘๘.
สุณีย์ ล่องประเสริฐ และปลื้มใจ ไฟจิตร. “จริยธรรมทางธุรกิจการท่องเที่ยวในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี”. วารสารวิทยาการจัดการ. ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑ (๒๕๕๙): ๑๔๙-๑๗๑.
ศรีสมรัก อินทุจันทร์ยง ลัดดาวัลย์ แก้วกิติพงษ์ และปิเตอร์ รักธรรม. “การศึกษาโซ่อุปทานและตัวแบบข้อมูลในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย”. สุทธิปริทัศน์. ปีที่ ๒๘ ฉบับที่ ๘๕ (มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๗): ๓๕๓.
แสงแข บุญศิริ, เทิดชาย ช่วยบำรุง และวรรักษ์ สุเฌอ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การเสริมสร้างศักยภาพด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวของคณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวประจำเขตพัฒนาการท่องเที่ยว ๕ เขตของไทย. กรุงเทพมหานคร: คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์, ๒๕๖๑.
อุษาวดี พลพิพัฒน์. “การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน: กรณีศึกษาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนในประเทศไทย”. จุลสารการท่องเที่ยว. ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๔ (ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔): ๒๕.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. ๒๕๕๘–๒๕๖๐.
กรมการท่องเที่ยว. “ข้อมูลสถิตินักท่องเที่ยว”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.tourism.go.th/ (๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๐).
กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร. “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://tattourismjournal.files.wordpress.com/2016/01/7_tourism_forum_2016.pdf,๒๕๕๘ [๒๒ กันยายน ๒๕๖๑].
“องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน อพท)”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www.dasta.or.th/www.facebook.com/SaiJaiPaiTiew. [๒๓ กันยายน ๒๕๖๑].
Diamantopoulos, A. and Siguaw. A.D. Introducing LISREL: A guide for the uninitiated. London: Sage Publications, 2000.
Hair, Jr., J. F. Black, W. C., Babin, B. J. Anderson, R. E., & Tatham, R. L., Multivariate Date Analysis 7th ed. Upper Saddle River NJ: Pearson Prentice Hall, 2010.
Kaukal M, Hopken W, & Werthner H. An approach to enable interoperability in electronic tourism markets. (8th) European Conference on Information System, (ECIS 2000), 2000.
Piboonrungroj P and Disney S.M., Tourism Supply Chains: A Conceptual Framework. Exploring Tourism III: Issue in PhD Research. In: Proceeding of the PhD Networking Conference. Christel DeHaan Tourism and Travel Research Institute, (July 2009)
Tapper R. and Font X. Tourism supply chains. Report of a desk research project for the travel foundation. Leeds Metropolitan University, 2004.
Tourism Concern. Beyond the Green Horizon: Principles for Sustainable Tourism. United Kingdom: World Wildlife Fund, 1992.
World Tourism Organization Indicators for sustainable development for tourism destinations: A guide book. Madrid: WTO, 2004.
Zhang Y. and Murphy P. Supply-chain considerations in marketing underdeveloped regional destinations: A case study of Chinese to Goldfields region of Victoria. Tourism Management, 2009.