การเปรียบเทียบเทคนิคการสอนแบบสะเต็ม-วอลดอร์ฟ กับหลักสุ จิ ปุ ลิ สำหรับครูคณิตศาสตร์เพื่อการสอนข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้

Main Article Content

อัมรินทร์ อภิรักษ์มาศ

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อประยุกต์เทคนิคการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบสะเต็ม-วอลดอร์ฟสำหรับครูคณิตศาสตร์เพื่อการสอนข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยหลัก สุ จิ ปุ ลิ และ (๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์จากการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการในรูปแบบสะเต็ม-วอลดอร์ฟ สำหรับการสอนของครูคณิตศาสตร์ในการสอนรายวิชาที่ข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นรูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้การวิจัยแบบกึ่งทดลองและกึ่งปฏิบัติการด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม-วอลดอร์ฟและหลัก สุ จิ ปุ ลิ เป็นกรอบการวิจัย


     พื้นที่สำหรับการวิจัยคือ โรงเรียนวัดท่ามะนาว จังหวัดสุพรรณบุรี และโรงเรียนวัดโคกเกตุ (เสริมสมบูรณ์วงศ์) จังหวัดสมุทรสงครามกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๓๗ คน โดยแบ่งเป็นนักเรียนจากโรงเรียนวัดท่ามะนาว จำนวน ๑๘ คน และจากโรงเรียนวัดโคกเกตุ (เสริมสมบูรณ์วงศ์) จำนวน ๑๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ของนักเรียน โดยเก็บข้อมูลสำหรับการวิจัยในปี การศึกษา ๒๕๖๑ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ (๑) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงสะเต็มศึกษา “เสาสวยด้วยลายศิลป์” และ (๒) แบบวัดผลทางการเรียนเรื่อง “งานศิลป์กับวัฒนธรรม” โดยใช้สถิติแบบไม่ใช้พารามิเตอร์ในการทดสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงกลุ่มด้วยสถิติแบบวิลคอกซัน ผลการวิจัยพบว่า (๑) ครูสามารถใช้หลักสุ จิ ปุ ลิ ร่วมกับการประยุกต์เทคนิคการสอนแบบสะเต็ม-วอลดอร์ฟในการสอน ข้ามกลุ่มสาระได้ และ (๒) นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยมีคะแนนเฉลี่ยด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งผลจากการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับครูคณิตศาสตร์ในการประยุกต์เพื่อแก้ปัญหาการสอนข้ามกลุ่มสาระในรายวิชาต่าง ๆ ที่ไม่ใช่วิชาคณิตศาสตร์ได้

Article Details

How to Cite
อภิรักษ์มาศ อ. “การเปรียบเทียบเทคนิคการสอนแบบสะเต็ม-วอลดอร์ฟ กับหลักสุ จิ ปุ ลิ สำหรับครูคณิตศาสตร์เพื่อการสอนข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 8, ฉบับที่ 1, เมษายน 2021, น. 157-70, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/240130.
บท
บทความวิจัย

References

พระเจตน์สฤษฎ์ อินทร์จันทร์. “ผลการเรียนแบบอีเลิร์นนิง ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ สุ จิ ปุ ลิ ที่มีต่อความสามารถในการเรียนของนักเรียนนักธรรมชั้นโท”. วารสาร Veridian E-Journal SU. ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑ (มกราคม – เมษายน ๒๕๕๕): ๖๙๓-๗๐๙.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ความรู้เบื้องต้นสะเต็ม. กรุงเทพมหานคร: สกสค. ลาดพร้าว, ๒๕๕๘.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. รายงานการวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบายการส่งเสริมการจัดการศึกษาด้านสะเต็มศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค, ๒๕๕๙.

สุพรรษา กลัดน้อย และ พรทรัพย์ พรสวัสดิ์. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์โดยเชื่อมโยงกับงานสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนา. เอกสารสืบเนื่องการประชุมวิชาการทางคณิตศาสตร์ ครั้งที่ ๒๒ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๐. เชียงใหม่: ม.ป.ท., ๒๕๖๐.

อัมรินทร์ อภิรักษ์มาศ. สะเต็มศึกษาเพื่อการสอนคณิตศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการจัดการเรียนรู้ด้วยรอยยิ้ม. เอกสารสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ ๑๐ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม: การ์แลนด์ พับลิชชิ่ง, ๒๕๖๑.

Apirakmas A. Mathematics teaching in basic education in Thailand by integrating STEM-Waldorf technique to increase students’ achievement and inspiration in learning. Proceedings on the 3rd International Conference of Multidisciplinary Approaches on UN Sustainable Development Goals 2018. Nakhon Pathom: Garland Publishing, 2019.

เว็บไซต์

คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สพฐ.๑๒๓๙ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://academic.obec.go.th/newsdetial.php?id=75 [๑๓ ตุลาคม ๑๕๖๑].

รักลูก. โรงเรียนแนวการสอนแบบวอลดอร์ฟ Waldorf เป็นยังไง?. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.rakluke.com/school-zone/11/56/1354/ [๒๐ มิถุนายน ๑๕๖๑].

โรงเรียนขนาดเล็ก. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www.moe.go.th/small_sch/ information.htm [๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑].