รูปแบบการสร้างประสบการณ์ลูกค้าของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทย

Main Article Content

พัชรสิตา สกุลวงศ์สิริโชค
ณัฐสพันธ์ เผ่าพันธ์

บทคัดย่อ

     การศึกษารูปแบบการสร้างประสบการณ์ลูกค้าของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทย เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน แบบ Explanatory Research ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ ผสมผสานกับกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสร้างประสบการณ์ลูกค้าของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทย และปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างประสบการณ์ลูกค้าของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบการ ผู้บริหาร หรือผู้จัดการที่มีบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบด้านกลยุทธ์การตลาด หรือบริหารจัดการแบรนด์ขององค์กรในกลุ่มธุรกิจเครื่องสำอาง จำนวน ๔๒๐ ตัวอย่าง และนำมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยใช้การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง รวมถึงนำผลการศึกษาเชิงปริมาณไปใช้ในการสร้างเครื่องมือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการยืนยันตัวแบบและกำหนดรูปแบบการสร้างประสบการณ์ลูกค้าของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทย


     ผลการศึกษาพบว่า จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ปัจจัยการสร้างประสบการณ์ลูกค้า ประกอบด้วย การตลาดแบบแรงดึงดูด การตลาดดิจิทัล การตลาดแบบเกม และการสร้างแบรนด์ที่จริงใจ เป็นอิทธิพลเชิงบวกที่ส่งผลต่อการสนับสนุนแบรนด์ และยังพบว่า การสร้างประสบการณ์ลูกค้าของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทยมีอิทธิพลทางอ้อมจากปัจจัยอื่น

Article Details

How to Cite
สกุลวงศ์สิริโชค พ., และ เผ่าพันธ์ ณ. “รูปแบบการสร้างประสบการณ์ลูกค้าของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทย”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 8, ฉบับที่ 2, สิงหาคม 2021, น. 254-68, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/251193.
บท
บทความวิจัย

References

วิมลสิริ บุญมานะ. พระเมธาวินัยรส. “แนวทางในการเสริมสร้างจิตสำนึกด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาเชิงพุทธบูรณาการ”. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. ปีที่ ๑๓ ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๑ (มิถุนายน ๒๕๖๐) : ๑๓๔-๑๔๕.

Allen, D.N. “A Study of the Relationship Service Quality Has on Customer Loyalty”. 10636234 D.B.A. Capella University. [2017].

Bezhovski, Z. “Inbound Marketing-A New Concept in Digital Business. Selth 2015”. International Scientific Conference of the Romanian-German University of Sibiu. [2015].

Brakus, J. J., Schmitt, B. H., & Zarantonello, L. “Brand experience: What is it?. How is it measured? Does it affect loyalty?”. Journal of Marketing, Vol. 73 (2009): 52-68.

Baumann, C., Elliot, G., & Hamin, H. “Modelling customer loyalty in financial services - A hybrid of formative and reflective constructs”. International Journal of Bank Marketing. Vol 9 No. (2011) : 247-267.

Klaus, P., & Maklan, S. “Towards a Better Measure of Customer Experience”. International Journal of Market Research. Vol. 55 No. 2 (2013) : 227-246.

Samuel, M.D. Strategies Retailers Use to Build Brand Loyalty and Improve Customer Experience. 10746775 D.B.A. Walden University. 2018.

Adobe. “Digital Trends for 2016.” [Online]. Available: https://offers.adobe.com/ content/dam/offermanager/en/uk/marketing/wp/Adobe_Econsultancy_Digital_Trends_2016.pdf [05 August 2018].

Blake, I. “What’s the Difference Between Inbound and Digital Marketing?”. [Online]. Available: http://www.squaredot.eu/blog/whats-the-difference-between-inbound-marketing-and-digital- marketing [2015].

Mutyala, S. “The loyalty ladder: A sideways look. Eight Leaves”. [Online]. Available: http://www.eightleavesmedia.com/2010/04/the-loyalty-ladder-a-sideways-look/2010. [3 January 2019].