การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ท้องถิ่นยโสธร ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) เพื่อพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ท้องถิ่นยโสธร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ (๒) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ท้องถิ่นยโสธร (๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ท้องถิ่นยโสธร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๖/๖ จำนวน ๒๐ คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๒ โรงเรียนอนุบาลยโสธร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (๑) หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ท้องถิ่นยโสธร จำนวน ๕ เล่ม (๒) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการอ่านจับใจความโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ท้องถิ่นยโสธร ๓) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความ (๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ท้องถิ่นยโสธร การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ จากสูตรคำนวณ /
ใช้สถิติค่าเฉลี่ย (
) และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent วิเคราะห์แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ท้องถิ่นยโสธร โดยแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) มี ๕ ระดับ ใช้ค่าเฉลี่ย (
) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า (๑) หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ท้องถิ่นยโสธร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๙.๐๗/๘๓.๐๐ (๒) ความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ท้องถิ่นยโสธร สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ (๓) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ท้องถิ่นยโสธร อยู่ในระดับมาก
Article Details
References
กรมวิชาการ. สภาพการผลิตและการพัฒนาหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๑.
จินตนา ใบกาซูยี. การเขียนสื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยสาส์น, ๒๕๓๗.
จินตนา ใบกาซูยี. เทคนิคการเขียนหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๒.
ถวัลย์ มาศจรัส. การเขียนหนังสือส่งเสริมการอ่าน และหนังสือเพิ่มเติม : เทคนิคและตัวอย่าง. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มิติใหม่, ๒๕๓๘.
นภัสวรรณ ภัทรากุล. “การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เรื่องมหัศจรรย์ชายแดนใต้”. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยทักษิณ, ๒๕๕๖.
ปทุมรัตน์ สีธูป. “รายงานการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุดสำนึกรักท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านโป่งเก้ง”. รายงานวิจัย. อุทัยธานี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต ๑, ๒๕๕๓.
สนิท ตั้งทวี. อ่านไทย. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๓๖.
สัญญา สอนบุญทอง. “การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดมารยาทไทย สำหรับผู้อ่านภาษาไทยแบบข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาปีที่ ๖”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, ๒๕๕๖.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. หลักและวิธีสอนอ่านภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๔๕.
สุวิทย์ ชัยเพชร. “การพัฒนาหนังสือนิทานร้อยกรอง เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, ๒๕๕๕.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คู่มือการเรียนการสอนภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การค้าของสำนักงาน สกสค, ๒๕๕๐.
อภิเชษฐ์ เทศเล็ก. “การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดท่องเที่ยวเมืองสามพราน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนนาคประสิทธิ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๙.