รูปแบบการพัฒนาจิตของผู้สูงอายุตามวิถีพุทธในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

เทพ ยูรประดับ
กิตตินันท์ บุญรอด
กอบกุล วิศิษฏ์สรศักดิ์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาสภาพปัจจุบันในการดำเนินชีวิตตามหลักวิถีพุทธของผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี (๒) สร้างรูปแบบการพัฒนาจิตตามหลักวิถีพุทธของผู้สูงอายุ และ (๓) ประเมินรูปแบบการพัฒนาจิตตามหลักวิถีพุทธของผู้สูงอายุ โดยการวิจัยในขั้นตอนที่ ๑ ศึกษาสภาพปัจจุบันการดำเนินชีวิตตามหลักวิถีพุทธของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุตอนต้น วัย ๖๐-๖๙ ปี จำนวน ๓๙๒ คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง ๐.๖๗-๑.๐ และค่าความเชื่อมั่น ๐.๙๑๕ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ ๒ การสร้างรูปแบบการพัฒนาจิตตามวิถีพุทธของผู้สูงอายุ ใช้วิธีสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ๑๐ คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และขั้นตอนที่ ๓ การประเมินรูปแบบการพัฒนาจิตตามแนววิถีพุทธของผู้สูงอายุ จากกลุ่มเป้าหมายจำนวน ๓๐ คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง ๐.๖๗-๑.๐ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (๑) สภาพปัจจุบันในการดำเนินชีวิตตามหลักวิถีพุทธของผู้สูงอายุอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับรายด้านจากมากไปหาน้อย คือ ด้านศีลสิกขา ด้านสมาธิสิกขา และด้านปัญญาสิกขา (๒) รูปแบบการพัฒนาจิตตามหลักวิถีพุทธของผู้สูงอายุที่สร้างขึ้นเพื่อการดำเนินชีวิตที่ดีประกอบด้วย ๕ ขั้นตอนได้แก่ ๑) การสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาจิต ๒) การให้ความรู้ด้านพุทธธรรม ๓) การฝึกปฏิบัติตนด้วยสติ-สมาธิ ๔) การบริหารกายและจิตด้วยสมาธิบำบัด SKT และ ๕) การวางแผนพัฒนาจิตในชีวิตประจำวันและการประเมินผล จากรูปแบบฯ นี้ จัดทำเป็นคู่มือการฝึกอบรมจำนวน ๑ ชุด (๓) ผลประเมินรูปแบบการพัฒนาจิตตามหลักวิถีพุทธของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ๔.๓๕ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๔๓

Article Details

How to Cite
ยูรประดับ เ., บุญรอด ก., และ วิศิษฏ์สรศักดิ์ ก. “รูปแบบการพัฒนาจิตของผู้สูงอายุตามวิถีพุทธในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 9, ฉบับที่ 3, ธันวาคม 2022, น. 263-76, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/258080.
บท
บทความวิจัย

References

กิตดา ปรัตถจริยา และอุบล เลี้ยววาริณ. “ผลของการใช้ชุดฝึกอบรมการบริหารจิตตามแนวพุทธเพื่อเสริมสร้างจิตลักษณะทางพุทธและลักษณะทางพุทธของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา”. วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๒ (พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๘): ๒๐๗.

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. “ชุดความรู้การดูแลตนเองและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ด้านความมั่นคงในชีวิต”. กรุงเทพมหานคร : กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, ๒๕๖๐.

เกสร มุ้ยจีน. “ปัจจัยที่มีผลต่อระดับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ”. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒ (เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๘): ๓๐๖.

ฐิติยา เนตรวงษ์ และรัชฎาพร ธีราวรรณ. “การใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลักวิถีพุทธที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตที่ดีของผู้สูงอายุ”. วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ. ปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๖๒): ๙๓-๑๐๕.

พระครูภาวนาสังวรกิจ วิ. (สุวิทย์ คำมูล). “การพัฒนาสุขภาวะองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุตามแนวพุทธจิตวิทยา”. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๗ (กันยายน ๒๕๖๒) : ๓๔๑๙.

พระครูสาครธรรมประสิทธิ์. “หลักธรรมมรรคมีองค์ ๘ ของเจ้าอาวาสวัดในเขตปกครอง อำเภอเมืองสมุทรสาคร”. ๒๕๕๖.

พระมหาวิชาญ กนฺตสีโล และคณะ. “แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้วยมรรคมีองค์ ๘”. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-มีนาคม ๒๕๖๒) : ๒๕๔.

รพีพร ฤาเดช. “ผลของโปแกรมสมาธิบำบัดตามวิถีพุทธ ต่อความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี”. วารสารพยาบาลทหารบก. ปีที่ ๑๙ (ฉบับพิเศษ) (มกราคม-เมษายน ๒๕๖๑): ๒๖-๓๘.

สราวุฒย์ วิจิตรปัญญา และคณะ. “การพัฒนารูปแบบและกระบวนการดูแลสุขภาวะผู้ในโรงเรียนผู้สูงอายุตามแนวพุทธศาสนา”. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๑.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. “สถิติ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม : จำนวนศาสนิกจำแนกตามศาสนา พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๖๑”. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ๒๕๖๓.

สำนักทะเบียน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. ทะเบียนราษฎร์. เพชรบุรี : สำนักทะเบียน, ๒๕๖๓.

Taro Yamane. “An Introductory Analysis”. Tokpo. Aoyama Gakum University. 1967.

Best, John. W. “Research in Education”. 3rd. ed., Englewood Cliffs. (New Jersey: Prenticel-Holl, Inc., 1986.

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเพชรบุรี. “รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดเพชรบุรี ปี ๒๕๖๓”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://phetchaburi.m-sociaty.go.th, [๕ มกราคม ๒๕๖๕].