ค่านิยมของนักศึกษาอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) เพื่อศึกษาระดับค่านิยมของนักศึกษาอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงวิทยาลัยเทคนิคระยอง (๒) เพื่อเปรียบเทียบค่านิยมของนักศึกษาอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงจำแนกตาม เพศ ระดับชั้นปี อายุ ประเภทวิชา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับชั้นปี ๑ และ ระดับชั้นปี ๒ จำนวน ๕ ประเภทวิชา วิทยาลัยเทคนิคระยอง ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โดยมีประชากรทั้งสิ้น ๒,๕๗๖ คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคระยอง ระดับชั้นปี ๑ ระดับชั้นปี ๒ และ ประเภทวิชา ๕ ประเภทวิชา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ จำานวน ๓๓๕ คน
ผลการวิจัยพบว่า ค่านิยมของนักศึกษาอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคระยอง จำแนกตามเพศ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีจำนวน ๑๖๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๑๕ และเป็นเพศชาย จำนวน ๑๖๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๙.๘๕ จำแนกตามระดับชั้น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ระดับชั้นปี ๑ จำนวน ๑๖๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๑๕ และระดับชั้นปี ๒ จำนวน ๑๖๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๑๕ จำแนกตามอายุ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อายุ ๑๙ ปี จำนวน ๑๖๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๐๖ รองลงมา คือ อายุ ๒๐ ปี คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๒๔ อายุ ๑๘ ปี จำนวน ๔๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๐๓ และอายุ ๒๑ ปีขึ้นไป จำนวน ๑๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๕.๖๗ และ จำแนกตามประเภทวิชา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อุตสาหกรรม จำนวน ๑๘๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๓๓ รองลงมา คือ พาณิชกรรม/บริหารธุรกิจ จำนวน ๑๑๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๔.๓๓ รองลงมา คือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน ๑๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๕.๐๗
รองลงมา คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จำนวน ๑๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๘๘ และคหกรรม จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๒.๓๙ พบว่าระดับค่านิยมของนักศึกษาอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงวิทยาลัยเทคนิคระยอง และเปรียบเทียบค่านิยมของนักศึกษาอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงจำแนกตาม เพศ ระดับชั้นปี อายุ ประเภทวิชา ภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ. ราชกิจจานุเบกษา. วันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๒.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒. ราชกิจจานุเบกษา. วันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๒.
มณีโชค สังหาญ. “การศึกษาค่านิยมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น”. วารสารศิลปะศาสตร์. ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๑ (๒๕๔๘) : ๑-๑๒.
สมพงษ์ บุญญา และ มานพ แจ่มกระจ่าง. “ผลของการใช้กิจกรรมการกระจ่างค่านิยมต่อการมีวินัยในตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีโครงการเกษตรเพื่อชีวิต”. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม. ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๑ (๒๕๕๔) : ๘๓-๙๒.
อมร ชัยรัตน์กรกิจ. “การศึกษาค่านิยมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย”. วารสารศึกษาศาสตร์. ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๒ (๒๕๔๘) : ๘๑-๙๑.
Wagner, R. A. “How intelligence changes with age: Evidence from studies of learning and memory”. American Psychologist. vol. 51 No.1 (1996) : 72-80.
St. Cloud State University. “St. Cloud State University Department of Residential Life Student Leadership Development Model”. [Online]. Available: https://www.stcloudstate.edu/reslife/_fles/documents/guide-Student-LeadershipDevelopment.pdf [2023].
Wagner. “The Social Change Model of Leadership: A Brief Overview”. By Susan R. Komives Nance Lucas Timothy R. McMahon. [Online]. Available: www.josseybass.com [1996].