การตีความอุปาลิวาทสูตรโดยใช้อรรถปริวรรตศาสตร์ของฮันส์-จอร์จ กาดาเมอร์

Main Article Content

พระมหาวรัญธรณ์ ญาณกิตฺติ
แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
อรชร ไกรจักร์

บทคัดย่อ

          ในอุปาลิวาทสูตร พระพุทธเจ้าและนิครนถนาฏบุตรมีทรรศนะเกี่ยวกับคำสอนเรื่องกรรมแตกต่างกันในประเด็นว่าด้วยผลของกรรม บทความนี้จึงมุ่งตอบคำถามว่า เหตุใดพระพุทธเจ้าจึงมีทรรศนะว่า มโนกรรมมีผลมากที่สุด เหตุใดนิครนถนาฏบุตรจึงมีทรรศนะว่ากายทัณฑะหรือกรรมทางกายมีผลมากทีี่สุด เนื้อหาในบทความนี้แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ (๑) ส่วนที่ ๑ กล่าวถึงการกำเนิดและพัฒนาการของอรรถปริวรรตศาสตร์ (๒) ส่วนที่ ๒ กล่าวถึงอรรถปริวรรตศาสตร์ของฮันส์-จอร์จ กาดาเมอร์ (๓) ส่วนที่ ๓ ตีความคำสอนเรื่องกรรมของพระพุทธเจ้าและนิครนถนาฏบุตรตามที่ปรากฏในอุปาลิวาทสูตรโดยใช้อรรถปริวรรตศาสตร์ของฮันส์-จอร์จ กาดาเมอร์ ผลการตีความพบว่า อคติ (Prejudice) คือ ความเชื่อหรือความเข้าใจของพระพุทธเจ้า ก็คือว่า ใจมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นแรงผลักดันให้บุคคลกระทำกรรมทางกาย วาจา ใจ และสภาวธรรมทั้งหมดตามทรรศนะของพระพุทธองค์ล้วนมีใจเป็นประธานทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ อคติ (Prejudice) หรือความเชื่อความเข้าใจดังกล่าวนี้จึงกำหนดขอบฟ้า (Horizon) ของพระพุทธเจ้า ทำให้พระพุทธองค์ทรงมีทรรศนะว่า มโนกรรมมีผลมากที่สุด (๒) อคติ (Prejudice) คือ ความเชื่อหรือความเข้าใจของนิครนถนาฏบุตร ก็คือว่า การทรมานร่างกายให้ได้รับความทุกข์จะทำให้ชีวะบริสุทธิ์หลุดพ้นจากอณูกรรมหรือกรรมเก่า และชีวะตามทรรศนะของท่านก็ถูกจัดอยู่ในฝ่ายสสารด้วยท่านให้ความสำคัญกับสสาร ด้วยเหตุนี้ อคติ (Prejudice) หรือความเชื่อความเข้าใจดังกล่าวนี้จึงกำหนดขอบฟ้า (Horizon) ของนิครนถนาฏบุตร ทำให้ท่านมีทรรศนะว่า กายทัณฑะมีผลมากที่สุด อย่างไรก็ดี อาจถูกโต้แย้งภายหลังได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงตัดกิเลสพร้อมกับอาสวะได้อย่างสิ้นเชิง นิครนถนาฏบุตรมีความบริสุทธิ์ มีญาณทัศนะ เหตุใดในบทความนี้จึงอธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงมีอคติ นิครนถนาฏบุตรมีอคติ การกล่าวว่า พระศาสดาทั้งสองมีอคติเหมือนกำลังยัดเยียดความไม่บริสุทธ์คืออคติให้กับท่าน ทั้งที่ท่านไม่มีอคติเลย ข้อโต้แย้งนี้สามารถตอบได้ว่า คำว่า อคติ ตามแนวคิดของกาดาเมอร์ ไม่ใช่ความลำเอียงเพราะรัก เกลียดชัง หลงหรือกลัวอันเป็นฝ่ายอกุศล เเต่หมายถึง ความเชื่อหรือความเข้าใจที่ทำหน้าที่เป็นกรอบอ้างอิงให้มนุษย์เข้าใจโลกและสิ่งรอบตัวได้ดีขึ้น ในเเง่นี้ คำว่า อคติ ตามแนวคิดของเขาจึงเป็นคำกลาง ๆ (Neutral term) ไม่ใช่คำที่มีความหมายเชิงลบ (Negative term) ดังนั้น การอธิบายว่าพระพุทธเจ้าทรงมีอคติ นิครนถนาฏบุตรมีอคติ จึงไม่ใช่การยัดเยียดความไม่บริสุทธ์คืออคติให้กับท่านเเต่เป็นการอธิบายว่า พระศาสดาทั้งสองมีความเชื่อหรือความเข้าใจแบบนี้

Article Details

How to Cite
ญาณกิตฺติ พ. ., รักษาโฉม แ. ., และ ไกรจักร์ อ. . “การตีความอุปาลิวาทสูตรโดยใช้อรรถปริวรรตศาสตร์ของฮันส์-จอร์จ กาดาเมอร์”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 11, ฉบับที่ 3, ธันวาคม 2024, น. 56-72, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/274421.
บท
บทความวิชาการ

References

กีรติ บุญเจือ. อรรถปริวรรตในปรัชญาศาสนาและจริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, ๒๕๖๐.

ประยงค์ แสนบุราณ. ปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๗.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

สุนทร ณ รังษี. ปรัชญาอินเดีย: ประวัติและลัทธิ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๓๗.

สุมาลี มหณรงค์ชัย. ภูมิปัญญาอินเดียโบราณ: ประวัติศาสตร์และปรัชญา ทางสายกลาง พุทธ พราหมณ์ เชน. กรุงเทพมหานคร: สยามปริทัศน์, ๒๕๖๒.

A. Kadir Cucen. “Is Heidegger’s Hermeneutics an Interpretation of Being of Dasein?”. European Journal of Multidisciplinary Studies. Vol. 2 No. 5 (May-August 2017): 252-260.

Hans-Georg Gadamer. Truth and Method. Translation revised by Joel Weinsheimer and Donald G. Marshall. second edition. London: Bloomsbury, 2004.

Joseph Pamplany et al. Biblical Hermeneutics. Thalassery: Vimala Offset Press, 2020.

Karl Simms. Hans-Georg Gadamer. New York: Routledge, 2015.

Monalisha Biswas. “The Development Of Hermeneutics In The Era Of Friedrich Schleiermacher”. Educational Administration: Theory and Practice. Vol.30 No.5 (2024): 14439-14442.

Stanley E. Porter & Jason C. Robinson. Hermeneutics An Introduction to Interpretive Theory. United States of America: Eerdmans Publishing, 2011.