แนวทางการส่งเสริมการให้ทานตามคติของพระโพธิสัตว์

Main Article Content

สุภาวดี คูหาทอง

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการเรื่องแนวทางการส่งเสริมการให้ทานของพระโพธิสัตว์นี้ กล่าวถึงเรื่องพระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญทาน ๓ ระดับชั้น คือ ทานบารมี ทานอุปบารมี ทานปรมัตถบารมีอันยอดยิ่งเมื่อทรงบำเพ็ญทานก็มีพระทัยตั้งมั่นที่หวังจะพาสัตว์ข้ามพ้นสังสารวัฏนี้ โดยบทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบำเพ็ญบารมีทานของพระโพธิสัตว์ และแนวทางการส่งเสริมการให้ทานของพระโพธิสัตว์ อันมีวิธีการค้นคว้าข้อมูลในพระไตรปิฏก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้อง ทำให้ทราบถึง คุณค่าของการให้ทานนี้เริ่มจากเหตุผลที่ให้ทานเป็นมูลฐานประกอบกับ ความเชื่อ ความละอาย และจิตจาคะ ย่อมได้รับอานิสงส์ ๕ ประการ คือ เป็นที่รัก คบหาคนดี มีชื่อเสียง ไม่ห่างธรรม นำสู่สวรรค์ แนวทางการส่งเสริมการให้ทานของพระโพธิสัตว์จึงควรที่จะเริ่มส่งเสริมให้ความรู้ในทุกระดับชั้นไม่ว่าเด็กอายุน้อยสู่เยาวชนตลอดไปจนถึงผู้สูงอายุเพื่อสร้างเสริมอุปนิสัยเสียสละให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ ไม่เบียดเบียนสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นเพราะความเห็นอกเห็นใจกัน ก็จะเกิดความเปลี่ยนแปลงให้สังคมนี้อยู่กันอย่างสุขสงบได้นั้นเอง

Article Details

How to Cite
คูหาทอง ส. . “แนวทางการส่งเสริมการให้ทานตามคติของพระโพธิสัตว์”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 12, ฉบับที่ 1, มกราคม 2025, น. 219-26, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/274836.
บท
บทความวิชาการ

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๒๘. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, ๒๕๕๙.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๓๖. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, ๒๕๕๙.

พระมหาสิทธิการ. หลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี รวมทุกวิชา. กรุงเทพมหานคร: เลี่ยงเชียง, ๒๕๔๙.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด. กรุงเทพมหานคร: วัดราชโอรสาราม, ๒๕๔๘.

ภูมิพลอดุลยเดช. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. พระมหาชนก. กรุงเทพมหานคร: สำนักราชเลขาธิการ, ๒๕๖๐.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์, ๒๕๕๔.

นายอาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล. “ทานและทานบารมี : คามสำคัญที่มีต่อการรังสรรค์วรรณคดีไทยพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย. คณะอักษรศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๒.

ประเวศ วะสี. “แนวคิดเกี่ยวกับระบบพัฒนาการเรียนรู้”. ใน สานปฏิรูป ๒. (มีนาคม ๒๕๔๒) : ๘๗.

ประพันธ์ ศุภษร, ดร. “วิเคราะห์การให้ทานของพระเวสสันดร ในมิลินทปัญหา”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.mcu.ac.th/article/detail/430 [๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๖].