ศึกษากัมมัฏฐานที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท: กรณีศึกษาสหัสสวรรค
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษากัมมัฏฐานที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา (๒) เพื่อศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาในสหัสสวรรค (๓) เพื่อวิเคราะห์หลักกัมมัฏฐานในสหัสสวรรค งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร วิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอในลักษณะการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า (๑) กัมมัฏฐานทางพระพุทธศาสนามี ๒ อย่าง คือ สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน สมถกัมมัฏฐาน ปฏิบัติในกรอบของอารมณ์ ๔๐ ทำให้จิตสงบเป็นสมาธิและวิปัสสนากัมมัฏฐานปฏิบัติกำหนดรู้รูปนามในกรอบของกฎไตรลักษณ์ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา (๒) โครงสร้างและเนื้อหาในสหัสสวรรค เป็นการแสดงเรื่องราวของบุคคลและคาถาที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนมี ๑๔ เรื่อง ได้แก่ เรื่องบุรุษผู้ฆ่าโจรมีเคราแดง พระพาหิยทารุจีริยเถระ พระกุณฑลเกสีเถรี อนัตถปุจฉกพราหมณ์ พราหมณ์ผู้เป็นลุงของพระสารีบุตรเถระ พราหมณ์ผู้เป็นหลานของพระสารีบุตรเถระ พราหมณ์ผู้เป็นสหายของพระสารีบุตรเถระ อายุวัฒนกุมาร สังกิจจสามเณร พระขานุโกณฑัญญเถระ พระสัปปทาสเถระ นางปฏาจาราเถรี นางกิสาโคตมีเถรี และพระพหุปุตติกาเถรี (๓) กัมมัฏฐานในสหัสสวรรคเป็นรูปแบบสอนเปรียบเทียบคำพูดคำเดียว ธรรมบทเดียว และคาถาเดียวประเสริฐกว่าคำพูด ๑๐๐ คำ ๑,๐๐๐ คำที่ไร้ประโยชน์ คำพูดที่มีประโยชน์คือพูดเรื่องขันธ์ ธาตุ อายนะ อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ สติปัฏฐาน และนิพพาน คำพูดเหล่านี้เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา กำหนดรู้รูปนามเห็นความเสื่อมไป ความสิ้นไปของรูปนามตามกฎไตรลักษณ์คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พระพุทธเจ้าตรัสสอนแก่คฤหัสถ์และบรรพชิตผ่านคำพูดคำเดียวประเสริฐ ผู้ฟังอยู่ส่งใจไปตามกระแสธรรม ได้บรรลุเป้าหมายหลักคือมรรค ผล นิพพาน หากยังไม่บรรลุเป้าหมายหลักจะบรรลุเป้าหมายรองคือมนุษย์โลกสวรรค์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จรุงใจ เกรียงบูรพา. “การปฏิบัติกัมมัฏฐานเพื่อรักษาตนตามแนวอัตตวรรคในอรรถกถาธรรมบท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๖.
จิณัฐตา ฐิตวัฒน์. “วิเคราะห์กรรมฐานในอัปปมาทวรรคและจิตตวรรค”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๔.
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ). ความเป็นมาของวิปัสสนากัมมัฏฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.
พระนาถ โพธิญาโณ (โปทาสาย). “ศึกษาวิเคราะห์ความสำคัญของคัมภีร์อรรถกถาที่มีต่อ การศึกษาพระไตรปิฎก”. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๒.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. แนวปฏิบัติในสติปัฏฐาน. พิมพ์ครั้งที่ ๘. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๕๕.