การพัฒนาการแก้ปัญหาแบบร่วมมือและทักษะการตัดสินใจด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สมบัติทางกายภาพของวัสดุ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนอนุบาลวัดอู่ตะเภา จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) พัฒนาการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ (๒) พัฒนาทักษะการตัดสินใจ (๓) ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่พัฒนาการแก้ปัญหา
แบบร่วมมือและทักษะการตัดสินใจ กลุ่มที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนอนุบาลวัดอู่ตะเภา จังหวัดชลบุรี จำนวน ๒๔ คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สมบัติทางกายภาพของวัสดุ จำนวน ๔ แผน ๑๘ ชั่วโมง แบบวัดการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ แบบวัดทักษะการตัดสินใจ แบบบันทึกกิจกรรมนักเรียน และแบบบันทึกอนุทิน สะท้อนความคิดของครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (๑) นักเรียนมีพัฒนาการแก้ปัญหาแบบร่วมมือสูงขึ้น อยู่ในระดับสูงจำนวน ๒๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๗.๕๐ (๒) นักเรียนมีพัฒนาการทักษะการตัดสินใจสูงขึ้น อยู่ในระดับสูงจำนวน ๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๓๓ และ (๓) แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ได้แก่ ๓.๑) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม และการกำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกให้สอดคล้องกับความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรม ทำให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามหน้าที่ของตนเอง มีการสนทนา ระดมความคิด ลงมติเพื่อแก้ปัญหาแบบร่วมมือและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ๓.๒) การปรับพื้นฐานด้านการระบุปัญหา การตั้งสมมติฐาน และการกำหนดตัวแปร โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการสะท้อนย้อนกลับจากครู ก่อนขั้นกำหนดปัญหาและดำเนินการศึกษาค้นคว้า ช่วยให้นักเรียนมีความพร้อมในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือและพัฒนาทักษะการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น และ ๓.๓) การสังเกต ติดตาม ให้ความช่วยเหลือ และใช้คำถามในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายกลุ่ม ทำให้นักเรียนเกิดความไว้วางใจ กล้าถาม กล้าแสดงความคิดเห็น ระดมความคิดและร่วมกันลงมติในการตัดสินใจแก้ปัญหากับสมาชิกภายในกลุ่มมากขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
นัตยา หัสมินทร์. “การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔”. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร, ๒๕๖๓.
มาศสุภา รัตนไทรงาม. “การพัฒนาความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์และทักษะการตัดสินใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนวัดรังสิตาวาส จังหวัดยะลา โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการสืบเสาะแบบผสมผสานการโต้แย้ง เรื่อง ระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๖๑.
พจงจิตร นาบุญมี. “การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาการแก้ปัญหาแบบร่วมมือเรื่องการเคลื่อนที่ แบบหมุนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔”. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยนเรศวร, ๒๕๖๐.
ภารดี สงวนศิลป์. “การศึกษาความสามารถในการตัดสินใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ สาระที่ ๒ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคมด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๒ (เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๔): ๖๙-๗๐.
ศมกร ศิลาโชติ. “วิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาที่เน้นการใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ไฟฟ้าเคมีที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๓ (กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๖๓) : ๒๕๓-๒๕๙.
ศิริวรรณ สีทา. “การพัฒนาการแก้ปัญหาแบบร่วมมือในรายวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน”. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๙ (พฤษภาคม ๒๕๖๓) : ๒๗๙-๒๙๐.
ศิวพร โกษาทอง. “การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เพื่อ ส่งเสริมทักษะการตัดสินใจแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ๒๕๖๒.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้, ๒๕๕๐.
Antonenko. “Fostering collaborative problem solving and 21st century skills using the DEEPER scaffolding framework”. Research and Teaching. Vol.43 No.6 (April 2014) : 79-88.
Beyer, B. K. Practice Strategies for Teaching of Thinking. Boston: Allyn and Bacon, 1987.
Griffin, P., & Care, E. Assessment and teaching of 21st century skills: Methods and approach. Dordrecht: Springer, 2015.
Hmelo-Silver. “Problem-based learning: What and how do students learn?”. Educational Psychology Review. Vol.16 No.3 (June 2004) : 235-266.
Kemmis, S., & McTaggart, R. The Action Research Planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University Press, 1998.
OECD. OECD Handbook for Innovative Learning Environments. Paris: OECD Publishing, 2017.
Vygotsky. Mind in Society: The Development of Higher Psychological Processes. Cambridge, MA: Harvard University Press, 1987.