การเสริมสร้างกิจการคณะสงฆ์ตามหลักพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระวชิรธรรมวิธาน

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้ศึกษาการเสริมสร้างกิจการคณะสงฆ์ตามหลักพระพุทธศาสนา โดยมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้หลักทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ ได้แก่ (๑) ทาน (๒) ศีล (๓) ปริจจาคะ (๔) อาชชวะ (๕) มัททวะ (๖) ตปะ (๗) อักโกธะ (๘) อวิหิงสา (๙) ขันติ และ (๑๐) อวิโรธนะ มาเสริมสร้างกิจการคณะสงฆ์ทั้ง ๖ ด้าน ได้แก่ (๑) การปกครองคณะสงฆ์ (๒) การศาสนศึกษา (๓) การศึกษาสงเคราะห์ (๔) การเผยแผ่พระพุทธศาสนา (๕) การสาธารณูปการ และ
(๖) การสาธารณสงเคราะห์


          ผลการศึกษาพบว่า หลักทศพิธราชธรรมสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกิจการคณะสงฆ์
ทั้ง ๖ ด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ด้านการปกครองใช้หลักทศพิธราชธรรม ได้แก่ ศีล มัทวะ อักโกธะ อวิหิงสา และขันติ ด้านการศาสนศึกษาใช้หลักทศพิธราชธรรม ได้แก่ ทาน และบริจาค ด้านการศึกษาสงเคราะห์ใช้หลักทศพิธราชธรรม ได้แก่ ทาน บริจาค และขันติ ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาใช้หลักทศพิธราชธรรม ได้แก่ ทาน ตบะ และขันติ เป็นต้น โดยสามารถปรับให้เข้ากับบริบทปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง การนำหลักธรรมมาใช้ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชีวิตและสังคม ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรทางพระพุทธศาสนา และสนับสนุนการจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แก่ประชาชน บทความนี้ชี้ให้เห็นว่า การประยุกต์ใช้หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้นำในการยึดถือหลักธรรมและปฏิบัติให้สอดคล้องกับยุคสมัย

Article Details

How to Cite
พระวชิรธรรมวิธาน. “การเสริมสร้างกิจการคณะสงฆ์ตามหลักพระพุทธศาสนา”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 12, ฉบับที่ 1, มกราคม 2025, น. 200-18, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/275293.
บท
บทความวิชาการ

References

กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการบริหารกิจการคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา, ๒๕๓๘.

กองแผนงาน กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการบริหารกิจการคณะสงฆ์, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา, ๒๕๓๘.

บุญทัน ดอกไธสง. การจัดการองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๗.

บุญศรี พานะจิตต¬ และคณะ. ความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจของวัด: ศึกษาเฉพาะกรณี วัดสวนแก้ว อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, ๒๕๔๕.

พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). เอกสารประกอบคำบรรยาย เรื่องการคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตโต). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๙.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๑๓. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทอาร์ เอส พริ้นติ้งแมส โปรดักส์ จำกัด, ๒๕๔๘.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต), ธรรมนูญชีวิต, กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนา แห่งชาติ, ๒๕๔๐.

พระไพศาล วิสาโล. พระพุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์, ๒๕๔๖.

พระมหาประภาส โชติเมธี (รักไร่). “การบูรณาการหลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลโบสถ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๘.

พระมหาสมทรง สิรินฺธโร และคณะ. บทบาทของวัด และพระสงฆ์ไทยในอนาคต. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเคล็ดไทย จำกัด, ๒๕๒๕.

พระยุทธนา รมณียธมฺโม (แก้วกันหา). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์การจัดองค์กรคณะสงฆ์ในสมัยพุทธกาล”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗.

พุทธทาสภิกขุ. การตามรอยพระยุคลบาท โดยทศพิธราชธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ สุขภาพใจ, ๒๕๔๙.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, ๒๕๕๔.

วสิษฐ์ เดชกุญชร. วันพ่อแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: อำนวยเว็บการพิมพ์, ๒๕๕๑.

สมพงษ์ เกษมสิน. การบริหาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไพบูลย์ สำราญภูติ, ๒๕๑๔.

สุเมธ ตันติเวชกุล. ใต้เบื้องพระยุคลบาท. กรุงเทพมหานคร: มติชน, ๒๕๔๓.

พระพรหมกวี (วรวิทย์). “วิทยาพระสังฆาธิการ (๒)”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www. watmoli.com/wittaya-two/1821/ [๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๗].