การแสดงความกตัญญูกตเวทีวิถีใหม่ในสังคมไทย

Main Article Content

พระสุพาต คมฺภีรปญฺโญ
พระมหาทวี มหาปญฺโญ
สานุ มหัทธนาดุลย์

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาการแสดงความกตัญญูกตเวทีในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (๒) เพื่อศึกษาการแสดงความกตัญญูวิถีเก่าของคนในสังคมไทย (๓) เพื่อศึกษาการแสดงกตัญญูกตเวทีวิถีใหม่ในสังคมไทย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนาม ในการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๒ ท่าน แล้วนำขอมูลที่ได้จากสัมภาณ์มาวิเคราะห์ทสสอบ แล้วแยกประเด่น เรียบเรียง สรุปประเด่นปัญญาต่าง ๆ


          ผลการวิจัยพบว่า (๑) ความกตัญญูกตเวที หมายถึง บุคคลมีคุณธรรม มีศีลธรรม รู้จากบุญคุณอันท่านกระทำแล้วและตอบแทน นับได้ว่าเป็นเครื่องหมายของความดี หรือเป็นพื้นฐานสำคัญของมนุษย์ ความกตัญญูกตเวทีซึ่งนับได้ว่าเป็นหลักสำคัญในการดำรงชีวิตและจิตใจ การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมให้อยู่เย็นเป็นสุขนั้น ต้องได้รับการศึกษาอบรมจิตใจจากบุคคลผู้มีอุปการะคุณ เช่น มารดาบิดา ครูและอาจารย์ จึงจะได้ผลผลิตได้บุคคลมีคุณภาพ มีคุณธรรมและศีลธรรม มีทัศนคติที่ดีทำให้เกิดประโยชน์สุข เจริญรุ่งเรื่องก้าวหน้า อันเป็นส่วนประกอบสำคัญของมนุษย์ (๒) การแสดงความกตัญญูกตเวทีวิถีเก่าในสังคมไทย มีรูปแบบการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีแบบเดียวกับการแสดงความกตัญญูกตเวทีในทางพระพุทธศาสนา เพราะว่า มนุษย์ทุกคนต้องอยู่รวมกันแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ดังนั้น กตัญญูกตเวทีวิถีเก่า คือ ในสมัยก่อนครอบครัว หรือ คนในสังคมนั้นที่เคยปฏิบัติมาอย่างไร อย่างเช่น พ่อแม่ปฏิบัติต่อพ่อตาแม่ย่าอย่างไร เมื่อลูกรู้จักความแล้ว คือ ต้องปฎิบัติต่อมารดาบิดาอย่างนั้น ต่อ ๆ กันมาอย่างยาวนานต่อรุ่นสู่รุ่นอย่างนั้น เป็นการปฏิบัติ ช่วยเกื้อกูลสังคมส่วนรวมด้วยความ เมตตา กรุณา การกระทำเช่นนี้ ย่อมนำความสุข ความเจริญ และสิริมงคลมาสู่ชีวิตและสังคมบ้านเมือง (๓) การแสดงความกตัญญูกตเวทีวิถีใหม่ของสังคมไทย คือวิถีแห่งโลกยุคดิจิทัล ดังนั้น จึงมีวิธีการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีในวิถีใหม่ในสังคมสมัยใหม่ ได้หลากหลายวิธีกว่าในสมัยก่อนที่ไม่มีสื่อสังคมออนไลน์ เป็นสื่อที่มีพลังอำนาจอย่างมากที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของคุณในยุคนั้น เพราะฉะนั้น หลักความกตัญญูของพระพุทธศาสนาเป็นหลักธรรมที่ดี ที่จะเก็บรักษาไว้ แต่รูปแบบการแสดง คือสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับยุคสมัย กตัญญูวิถีใหม่ คือการปรับใช้สิ่งเก่าเข้ากับสิ่งใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์ที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต และแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงานและติดต่อสื่อสาร รวมถึงการช้อปปิ้งออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มอย่างลาซาด้าและช้อปปี้ ตลอดจนการทำธุรกรรมผ่านแอปธนาคารและตู้บริการอัตโนมัติต่าง ๆ ทั้งหมดนี้ช่วยให้คนทันสมัยและทันโลกในปัจจุบัน

Article Details

How to Cite
คมฺภีรปญฺโญ พ. ., มหาปญฺโญ พ., และ มหัทธนาดุลย์ ส. “การแสดงความกตัญญูกตเวทีวิถีใหม่ในสังคมไทย”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 12, ฉบับที่ 1, มกราคม 2025, น. 82-93, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/276229.
บท
บทความวิจัย

References

พระครูศรีสุตโสภณ (เงิน ชาตเมธี). “ความกตัญญูกตเวทีในฐานะคุณธรรมค้าจุนสังคมจากมุมมองพระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๙.

พระมหาบุญกอง คุณาธโร (มาหา). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์ความกตัญญู (กตญฺญุตา) ในพระพุทธ ศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๘.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพ-มหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. มงฺคลตฺถทีปนี (ปฐโม ภาโค). พิมพ์ครั้งที่ ๑๘. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๖๐.

สุวรรณฐา ลึม. “แนวทางส่งเสริมความกตัญญูกตเวทีในสังคมไทย”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๐.

Asst. Prof. Dr Sanu Mahatthanadull and Dr. Sarita Mahatthanadull. “Human Behaviors in Promoting Balance of Family according to Buddhist Psychology”. Journal of MCU Peace Studies. Vol. 8 No. 1 (January-February 2020) : 21-31.

รุ่งฟ้า เกียรติพจน์. “ความกตัญญู คุณธรรมแห่งรักแท้ ที่ไม่ควรถูกลืมเลือน”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.sustainablelife.co/news/detail/38 [๒๐ กันยายน. ๒๕๖๕].

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. “บุพการี”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://legacy.orst.go.th/?knowledges=บุพการี-๑๓-กรกฎาคม-๒๕๕๒ [๑ ธันวาคม ๖๔].