คำศัพท์ “ธรรมจักษุ”: การอธิบายผ่านแนวคิดเกมภาษาของลุดวิก วิทเกนสไตน์

Main Article Content

พระมหาวรัญธรณ์ ญาณกิตฺติ
แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
อรชร ไกรจักร์
จรุงใจ เกรียงบูรพา

บทคัดย่อ

ในพระไตรปิฎก ธรรมจักษุ หมายถึง โสดาปัตติมรรคเท่านั้น เเต่ในอรรถกถาและฎีกา ธรรมจักษุมีคำนิยามแตกต่างกัน บางแห่งระบุว่า ธรรมจักษุ หมายถึง โสดาปัตติมรรค บางแห่ง หมายถึงมรรค ๓ ผล ๓ บางแห่ง หมายถึงมรรค ๔ ผล ๔ อย่างไรก็ดี อาจถูกวิพากษ์ได้ว่า ธรรมจักษุในคัมภีร์พุทธศาสนามีความกำกวม ขาดความเป็นภววิสัย (objective) ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายคำศัพท์ ธรรมจักษุผ่านแนวคิดเกมภาษาของลุดวิก วิทเกนสไตน์ เพื่อป้องกันข้อวิพากษ์ดังกล่าว เนื้อหาในบทความนี้แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ (๑) แนวคิดเกมภาษาของลุดวิก วิทเกนสไตน์ (๒) การอธิบายคำศัพท์ ธรรมจักษุ ผ่านแนวคิดเกมภาษาของลุดวิก วิทเกนสไตน์ การศึกษาครั้งนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคำนิยาม ธรรมจักษุ ในพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และแนวคิดเกมภาษาในหนังสือ Philosophical Investigations แล้วอธิบายคำศัพท์ ธรรมจักษุ ผ่านแนวคิดเกมภาษาของวิทเกนสไตน์  ผลการศึกษาพบว่า คำศัพท์ ธรรมจักษุ มีความหมายตามบริบท ถูกสรรค์สร้างขึ้นมาเพื่อใช้อธิบายการบรรลุธรรมในระดับต่าง ๆ เมื่อพิจารณาความหมายของคำศัพท์ ธรรมจักษุ ในบริบทต่าง ๆ ดูเหมือนจะมีความคล้ายคลึงกันเเทบจะค้นหาความแตกต่างกันไม่ได้ เพราะหมายถึงการบรรลุธรรมเช่นเดียวกัน เเต่ถ้าวิเคราะห์โดยละเอียด จะพบว่า ธรรมจักษุในบริบทต่าง ๆ มีความแตกต่างกันในเเง่การละกิเลส และในความแตกต่างกันนี้ ยังพบความคล้ายคลึงกันคือ ลักษณะของสภาวธรรมที่ขจัดกิเลสเหมือนกัน นอกจากนี้ เนื่องจากคำศัพท์ ธรรมจักษุ มีความหมายสัมพันธ์กับบริบท เเม้จะตีความในบริบทหนึ่งแล้วพบว่า ธรรมจักษุ หมายถึง โสดาปัตติมรรค เเต่เมื่อตีความธรรมจักษุในอีกบริบทหนึ่งก็อาจจะพบว่า ธรรมจักษุ หมายถึง มรรค ๓ ผล ๓ หรือ มรรค ๔ ผล ๔

Article Details

How to Cite
ญาณกิตฺติ พ. ., รักษาโฉม แ. ., ไกรจักร์ อ. ., และ เกรียงบูรพา จ. “คำศัพท์ ‘ธรรมจักษุ’: การอธิบายผ่านแนวคิดเกมภาษาของลุดวิก วิทเกนสไตน์”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 12, ฉบับที่ 1, มกราคม 2025, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/276414.
บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

_________. ธมฺมสงฺคณีมูลฏีกา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.

_________. สุมงฺคลวิลาสินิยา นาม ทีฆนิกายฏฺฐกถาย สีลกฺขนฺธวคฺควณฺณนา (ปโม ภาโค). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๒.

_________. อรรถกถาภาษาไทย พระวินัยปิฎก สมันตปาสาทิกา ภาค ๓. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๐.

_________. อรรถกถาภาษาไทย พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๗.

_________. อรรถกถาภาษาไทย พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวัคค-มหาวารวัคควัณณนา สารัตถัปปกาสินี ภาค ๓. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๓.

Agetue, K. N. “Wittgenstein’s concept of language game: A critical discourse”. Abraka Humanities Review. Vol.12 No. 1 (2022): 106-114.

Amberg, J. S., & Vause, D. J. American English: History, Structure, and Usage. Cambridge: Cambridge University Press, n.d..

Wittgenstein, L. Philosophical Investigations. Translated by G.E.M. Anscombe. 3rd edition. Oxford: Blackwell Publishing, 2001.

Xia, Y. “A Comparative Analysis of Early and Late Ludwig Wittgenstein’s Philosophical Thoughts”. Proceedings of the 2nd International Conference on Social Psychology and Humanity Studies, (2024): 38-42.

Yule, G. The Study of Language. 4th ed.. Cambridge: Cambridge University Press, 2010.

Stanford Encyclopedia of Philosophy. Ludwig Wittgenstein. [online]. Retrieved from https://plato.stanford.edu/entries/wittgenstein/ [October 31, 2024].