ศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของความเมตตาตามแนวสุวรรณสามชาดก

Main Article Content

วิทยา สุวรรณพันธุ์
แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
อรชร ไกรจักร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาเมตตาบารมีในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (๒) เพื่อศึกษาการบำเพ็ญเมตตาบารมีในสุวรรณสามชาดก และ (๓) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของความเมตตาตามแนวสุวรรณสามชาดก เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า เมตตาบารมีในคัมภีร์พระพุทธศาสนา หมายถึง ความรัก ความปรารถนาดี มีไมตรี คิดเกื้อกูลให้ผู้อื่นและสรรพสัตว์ทั้งปวงมีความสุข ความเจริญ การบำเพ็ญเมตตาเป็นการละอกุศลและการเจริญกุศลเพื่อประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติและเพื่อพระโพธิญาณ แบ่งเป็น ๓ ระดับ ได้แก่ (๑) การบำเพ็ญเมตตาบารมีเบื้องต้นคือการอุทิศด้วยทรัพย์สมบัติและบริวารทั้งหลาย (๒) เมตตาอุปบารมี คือการบำเพ็ญบารมีขั้นกลาง อุทิศอวัยวะน้อยใหญ่ในร่างกายตน และ (๓) เมตตาปรมัตถบารมี คือการบำเพ็ญบารมีขั้นสูงอุทิศด้วยชีวิตของตน อานิสงส์ของผู้มีเมตตาได้แก่ (๑) หลับเป็นสุข (๒) ตื่นเป็นสุข (๓) ไม่ฝันร้าย (๔) เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย (๕) เป็นที่รักของอมนุษย์ (๖) เทวดาทั้งหลายรักษา (๗) ไฟ ยาพิษหรือศัสตรากล้ำกลายไม่ได้ (๘) จิตตั้งมั่นเร็ว (๙) สีหน้าสดใส (๑๐) ไม่หลงลืมสติตาย (๑๑) คุณวิเศษแห่งเมตตาอันยอดยิ่งส่งผลให้เข้าถึงพรหมโลก การบำเพ็ญเมตตาบารมีในสุวรรณสามชาดก ตั้งแต่การเสวยชาติเป็นสุวรรณสามพระโพธิสัตว์ พระองค์พึงระลึกอยู่เสมอว่ามารดาบิดาคือพรหมของบุตรจึงได้ปรนนิบัติต่อบิดามารดาด้วยความรักและปรารถนาให้มีความสุขยิ่งขึ้น เมตตาที่มีต่อพระเจ้าปิลยักษ์ด้วยการให้อภัย ไม่โกรธเคืองพยาบาทและกล่าววาจาไพเราะอ่อนหวานในขณะสนทนาแม้ตนนั้นจะถูกศรธนูอาบยาพิษทะลุข้างขวาไปยังข้างซ้ายจนกระอักเป็นเลือดออกมาด้วยความทุกข์ทรมานและเมื่อฟื้นขึ้นมายังเมตตาแสดงธรรม การบำเพ็ญเมตตาบารมีต่อสัตว์ต่อสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ แม่น้ำ ด้วยการไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้าย ไม่ฆ่า ไม่ทำลาย ช่วยปกป้องและอนุรักษ์สัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม และคุณค่าของความเมตตาตามแนวสุวรรณสามชาดก ปรากฏให้เห็นเด่นชัดในความรัก ความปรารถนาดี มีความกตัญญูรู้คุณและตอบแทนบุญคุณ การให้อภัย ความอดทน การละความพยาบาท ประพฤติตนเป็นผู้นอบน้อมถ่อมตนและการมีจิตเมตตาอันบริสุทธิ์อันเป็นคุณค่าของการบำเพ็ญเมตตาบารมีในการนำไปสู่มรรคผลนิพพาน

Article Details

How to Cite
สุวรรณพันธุ์ ว. ., รักษาโฉม แ., และ ไกรจักร์ อ. “ศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของความเมตตาตามแนวสุวรรณสามชาดก”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 12, ฉบับที่ 1, มกราคม 2025, น. 152-67, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/276479.
บท
บทความวิจัย

References

ขันทอง วิชาเดช พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร และประพันธ์ ศุภษร. “การแผ่เมตตาในสังคมไทยตามคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท”. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ปีที่ ๒๗ ฉบับที่ ๕๕ (กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๒): ๓๐-๓๑.

ปรีดาพร คุ้มสระพรมและคณะ. “สัญลักษณ์ในนิทานคัมภีร์มังคลัตถทีปนี”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๔ (มิถุนายน ๒๕๖๖): ๑๓๓๓.

พระครูสมุห์วัยวุฒิ ชิตจิตฺโต และคณะ. “การประยุกต์หลักเมตตาในพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อจัดการความขัดแย้ง”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. ปีที่ ๕ ฉบับพิเศษ (พฤษภาคม ๒๕๖๐): ๑๕๖-๑๕๘.

พระครูอุทัยสุตกิจ และสุวิชัย อินทกุล. “พุทธจริยธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมตามวิถีพุทธ”. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-เมษายน ๒๕๖๔): ๒๒๙.

พระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ). อภัยทาน การให้ที่ยากยิ่ง: การให้ที่ยากและยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, ๒๕๕๒.

พระมหาบุญเรียน ปภงฺกโร (พิลาพันธ์). “การศึกษาวิเคราะห์แนวความคิดเรื่องเมตตาในพุทธปรัชญาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๒.

พระมหาสมชาย ชินทตฺโต. “การศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมที่ปรากฏในสุวรรณสามชาดก”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ (พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๖๔): ๕๔-๕๕.

ภูมิพลอดุลยเดช. พระบาทสมเด็จพระปรมินทร. คำพ่อสอน: ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับความสุขในการดำเนินชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรุงเทพ, ๒๕๕๑.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๙.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. ชีวิตนี้สำคัญนัก, พิมพ์ครั้งที่ ๗, กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๕๐.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. รสแห่งความเมตตาชุ่มเย็นยิ่งนัก. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม, ๒๕๕๓.

สิทธิพล เวียงธรรม. “การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมวิถีพุทธ”. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๔ (ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๒): ๑๔-๑๕.

สุภาพร พรมเถื่อน. “การศึกษาแนวคิดเรื่องอธิษฐานบารมีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๕.

สุรีย์ มีผลกิจ. พระพุทธประวัติ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: บริษัทคอมฟอร์ท จำกัด, ๒๕๔๔.

อุดม ชัยสุวรรณ และคณะ. “รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้วยบารมี ๑๐ ทัศ ในพระพุทธศาสนาเถรวาท”. รมยสาร. ปีที่ ๑๓ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-เมษายน ๒๕๕๘): ๕๕-๕๗.

ว.วชิรเมธี. ชีวจิตมีเดีย. “เมตตาธรรม: ประโยชน์ของเมตตา”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://cheewajit. com/mind/157441.html [๙ มิถุนายน ๒๕๖๗].

สามเณร ปลูกปัญญาธรรม. สัมภาษณ์ พระราชปริยัติกวี (สมจินต์ วันจันทร์). “ความรักความเมตตาเป็นสิ่งสากล”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=h9fY4nGjF7o [๙ มิถุนายน ๒๕๖๗].