หลักการศึกษาในพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการศึกษาในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้ (๑) แนวคิดและหลักการศึกษาในพระพุทธศาสนา และ (๒) พระพุทธศาสนากับการศึกษาที่สมบูรณ์ ผลการศึกษาพบว่า หลักการศึกษาในทางพระพุทธศาสนา มีกระบวนการเริ่มตั้งแต่การรับคนเข้ามาเป็นสมาชิก เมื่อรับเข้ามาแล้ว ก็ให้การศึกษาอบรม ให้ตั้งอยู่ในแนวทางที่ถูกต้องดีงาม ผ่านกระบวนการศึกษาฝึกหัดขัดเกลาควบคุมป้องกัน การศึกษาทางพุทธศาสนาเน้นการฝึกอบรมตนการพึ่งตนเอง การมุ่งอิสระหลุดพ้นจากกิเลส เมื่อกล่าวถึงประเด็นพระพุทธศาสนากับการศึกษาที่สมบูรณ์แล้ว จะเห็นว่า การศึกษาจะต้องมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคนให้มีความฉลาด มีเครื่องมือควบคุมความฉลาด รวมถึงมีมนุษยธรรม สิ่งสำคัญเหล่านี้เป็นแนวทางสำคัญในการที่จะช่วยให้บุคคลเข้าถึงอิสรภาพสูงสุดก็คือความหลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ หลักการศึกษาในพระพุทธศาสนา จึงมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อทำให้ชีวิตเข้าถึงอิสรภาพ ความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). ปรัชญาการศึกษาของไทย ภาคพุทธธรรม : แกนนำการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วัดญาณเวศกวัน พิมพ์เผยแผ่เป็นธรรมทาน, ๒๕๕๖.
พุทธทาสภิกขุ. คู่มือการศึกษาพุทธศาสนา. สุราษฎร์ธานี: ธรรมทานมูลนิธิ, ๒๕๒๘.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺฐกถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๔.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วิสุทฺธิมคฺคปกรณํ (ปฐโม ภาโค). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาค ภาคที่ ๒ อาขยาตและกิตก์. พิมพ์ครั้งที่ ๒๑, กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๔๙๐.
สิรภพ เหล่าลาภะ. พุทธศาสตร์การศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. พระนครศรีอยุธยา: สถาบันพุทธลีลา, ๒๕๔๒.
สุมน อมรวิวัฒน์. สมบัติทิพย์ของการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๓.