ศึกษาวิเคราะห์ความสุขในการดำเนินชีวิตตามแนวสุขสูตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ (๑) เพื่อศึกษาความสุขในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (๒) เพื่อศึกษาความสุขในสุขสูตร (๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสุขในการดำเนินชีวิตตามแนวสุขสูตร เป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยศึกษาจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาพร้อมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยพบว่า ความสุขในพระพุทธศาสนา คือ ความสุขกายสุขใจ ความสุขสบายสำราญที่ได้เสวยอารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าพอใจยินดีทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ปรากฏความสุขถึง ๔ ระดับ คือ (๑) กามสุข (๒) ฌานสุข (๓) นิโรธสมาปัตติสุข (๔) นิพพานสุข ในกามสุขเป็นของปุถุชนทั่วไปเป็นสุขที่ต่ำ หยาบ ในฌานสุขและนิโรธสมาปัตติสุขเป็นสุขที่ละเอียด ประณีตกว่า ส่วนนิพพานสุขเป็นสุขที่สูงสุด เป็นความสงบ ละเอียดประณีตยิ่งกว่าสุขทั้งหมด ความสุขในสุขสูตรมี ๕ พระสูตร ได้แก่ (๑) สุขสูตร (๒) ปฐมสุข (๓) ทุติยสุขสูตร (๔) สุขปัตถนาสูตร (๕) สุขโสมนัสสสูตร เป็นพระสูตรที่นำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ถึงความสุขได้ด้วยคลายความยินในอารมณ์ที่ประสบเข้า ด้วยการเห็นความเกิดเป็นทุกข์ ด้วยการยินดีเป็นสุข ด้วยการมีศีล การคบคนดี และการยินดีธรรมทั้ง ๖ ประการ คือ ๑) พระธรรม ๒) ภาวนา ๓) การละ ๔) ปวิเวก ๕) ไม่พยาบาท ๖) ธรรมเครื่องไม่เนิ่นช้า ใน ๕ พระสูตรนี้ สุขปัตถนาสูตรเป็นสุขแบบโลกิยะสำหรับคฤหัสถ์ พระสูตรที่เหลือเป็นสุขแบบโลกุตตระสำหรับบรรพชิต ความสุขในการดำเนินชีวิตของคฤหัสถ์ คือ การมีเงินมีทองใช้สอยไม่ขาด ประกอบอาชีพที่สุจริต มีชื่อเสียง มีมิตรสหายที่ดี ให้ทานแบ่งบันผู้อื่น พอใจยินดีในสิ่งที่ตนมี ตั้งมั่นในศีล ๕ ศีล ๘ ไม่ขาด มีเมตตา เจริญสติ ภาวนากัมมัฏฐาน สำหรับบรรพชิต คือ การรักษาพระธรรมวินัย สำรวมกายวาจา บำเพ็ญภาวนา เจริญกัมมัฏฐาน มีสติอยู่ทุกเมื่อ มักน้อยสันโดษ เห็นความไม่เที่ยงแท้ของทุกสิ่งในโลก ปล่อยวางอารมณ์ที่ประสบเข้า ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่พยาบาทอาฆาต เพียรฝึกตนเพื่อตัดกิเลสภายในจิตเพื่อเข้าถึงนิพพาน จนนำไปสู่การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขที่ยั่งยืนตามหลักสุขสูตร
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จักรพงษ์ ทิพสูงเนิน เเละคณะ. “วิธีการสร้างความสุขตามหลักพุทธปรัชญา”. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันปทา. ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๖๖): ๘๐-๘๑.
ณัฏฐาพรรณ กรรภิรมย์พชิรา. “การศึกษาวิเคราะหสุขวรรคในคัมภีร์ธรรมบท”. วิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย, ๒๕๖๔.
ทรงวิทย์ ปลัดศรี. “ความสุขในมรรค ๘”. วารสารเสฏฐวิทย์ปริทัศน์. ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-เมษายน ๒๕๖๔): ๖๑.
นนทิวัต ไล้เลิศ. “การเสริมสร้างความสุขในบริบทของการปฏิบัติธรรมตามเเนวมหาสติปัฏฐานสูตร”. วารสารสังคมศาตร์เเละมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕ (พฤษภาคม ๒๕๖๓): ๒๖๔-๒๖๗, ๒๗๒.
ปราโมทย์ ยอดเเก้ว. “ความรู้: การพัฒนาความสุขเเห่งโลกความจริง”. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-เมษายน ๒๕๕๙): ๑๖, ๑๙.
พระมหาคมสัน วิสุทฺธิญาโณ. “วิธีปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงความสุขตามหลักพระพุทธศาสนา”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒): ๒๙-๓๐.
พระมหาปัญญาวรวัฒน์ สิรภทฺโท. “ชีวิตมีความสุขต้องมีศีล ๕”. สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๐.
พระมหาวิเชียร สุธีโร. “ความสุขในทัศนะของพระพุทธศาสนา”. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม. ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๖๒): ๔๒-๔๗.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น) และคณะ. “การสร้างและพัฒนาตัวชี้วัดความสุขของประชาชนตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา”. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย, ๒๕๕๘.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๙.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๓๑. กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๖๑.
ธีระพล เต็มอุดม. “ไทยปลื้ม” ดัชนีความสุข ปี 67 ขึ้นอันดับ 60 มุ่งสร้างสังคมสุขภาวะทางปัญญาอย่างยั่งยืน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.hfocus.org/content/2024/03/30015 [๒ ตุลาคม ๒๕๖๗].