รูปแบบการเผยแผ่องค์ความรู้และวิถีปฏิบัติแห่งความเป็นธรรม ในทศชาติชาดกผ่านระบบดิจิตัลออนไลน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาองค์ความรู้และวิถีปฏิบัติแห่งความเป็นธรรมที่ปรากฏในเรื่องทศชาติชาดก (๒) เพื่อพัฒนารูปแบบการเผยแผ่องค์ความรู้และวิถีปฏิบัติแห่งความเป็นธรรมที่ปรากฏในเรื่องทศชาติชาดกผ่านระบบดิจิตัลออนไลน์ (๓) เพื่อนำเสนอนวัตกรรมการเผยแผ่ทศชาติชาดกเชิงสร้างสรรค์บนฐานข้อมูลติจิตัลออนไลน์ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๕ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูล เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า องค์ความรู้ในทศชาติชาดก ได้แก่ (๑) การบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการของพระโพธิสัตว์ และ (๒) ความเป็นธรรมที่สะท้อนในเรื่องราวทศชาติชาดก ส่วนแรก การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์แสดงออกผ่านการปฏิบัติบารมี ๑๐ ประการ ได้แก่ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี ส่วนที่สอง ความเป็นธรรมในทศชาติชาดกสะท้อนให้เห็นผ่านหลายประเด็น เช่น การปฏิบัติต่อนักโทษและผู้พิการ การดูแลประชาชน การจัดการกับบุคคลที่มีความอิจฉาริษยาในองค์กร การบริหารอำนาจ การป้องกันการแย่งชิงราชสมบัติ รวมถึงบทบาทและคุณธรรมของผู้นำ การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม การบริจาคช้างมงคล การบำเพ็ญทาน ที่เรียกว่า สัตตสตกมหาทาน รวมถึงการเสียสละบุตรธิดาและพระชายา ทั้งหมดนี้สะท้อนถึงการปฏิบัติที่ส่งเสริมความเป็นธรรมและความเมตตาต่อสังคม รูปแบบการเผยแผ่องค์ความรู้และวิถีปฏิบัติแห่งความเป็นธรรม ที่ปรากฏในทศชาติชาดกผ่านระบบดิจิตัลออนไลน์ มี ๓ รูปแบบ ได้แก่ (๑) รูปแบบการนำเสนอข้อมูลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับทศชาติชาดกที่สะท้อนให้เห็นถึงองค์ความรู้และวิถีปฏิบัติแห่งความเป็นธรรมที่สอดแทรกอยู่ (๒) รูปแบบการนำเสนอแบบแนะนำ เพื่อชี้ให้เห็นถึงสาระสำคัญ บุคคลสำคัญ เหตุการณ์ และหลักธรรมหรือมีคติธรรมที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตของคนในสังคมได้ (๓) รูปแบบการนำเสนอแบบโน้มน้าว เพื่อโน้มน้าวจิตใจของผู้ฟังให้เกิดแรงจูงใจใฝ่สร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม ที่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเอง แก่คนอื่น หรือแก่สังคมส่วนรวม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรกนก ศรีสุวรรณ และสุวิญ รักสัตย์. “แนวทางความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก”. วารสารวิจัยธรรมศึกษา. ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๖๖): ๒๔๗ - ๒๖๐.
ชลวิทย์ อรุณปราการ นวลวรรณ พูลวสุพลฉัตร และสรวิชญ์ วงษ์สะอาด. “การใช้บารมี ๑๐ ในการพัฒนาตนเองและสังคม”. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย. ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ (มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๕) : ๔๙ - ๕๖.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เล่มที่ ๒๒, ๒๗ – ๒๘. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อรรถกถถาพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อรรถกถาขุททกนิกาย ชาดก ภาคที่ ๑ - ๑๐. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๗.
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช. ปัญหาประจำวันชุด “รู้ไว้ใช่ว่า”. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยามรัฐ, ๒๕๓๑.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (Dictionary of Buddhism). พิมพ์ครั้งที่ ๔๖. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก, ๒๕๖๕.
สุวรรณา สถาอานันท์. “เมตตาธรรม - ความเป็นธรรมในเวสสันดรชาดก”. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม, ๒๕๕๑.
สุภัค มหาวรากร และพฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ. “การสร้างสรรค์ชาดกเรื่องพระมหาชนกในรูปแบบการ์ตูนโทรทัศน์”. วารสารไทยศึกษา. ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๑ (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม ๒๕๕๗) : ๒๗ - ๕๓.
หม่อมอัญชลี ยุคล ณ อยุธยา. “แนวคิดปรัตถนิยมในฐานะรากฐานแห่งจิตอาสา”. วารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์. ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๖๑) : ๑๔ - ๒๒.
Rawls, John B. A Theory of Justice. Revised Edition. The Belknap Press of Harvard University Press, Cambridge, Massachusetts, 1971.
“ทฤษฎี SMCR ของเบอร์โล (Berlo)”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/post/674697, and https://www.baanjomyut.com/library/communication_theory/03_2.html [๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๗].