แนวคิดทางภาษา และการแสวงหาความรู้ในทัศนะของพุทธปรัชญา

Main Article Content

พระครูปริยัติรัตนคุณบัณฑิต รศ.ดร.

บทคัดย่อ

แนวคิดทางภาษา และการแสวงหาความรู้ในมุมมองของพุทธปรัชญานั้น เป็นไปในลักษณะที่อ้างอิงกับประสบการณ์ ที่รับรู้ได้ผ่านทางประสาทสัมผัส โดยภาษาก็คือสิ่งที่ใช้แสดงออกหรือเป็นเครื่องมือสื่อสารประสบการณ์ของเรา ซึ่งนำพาเราไปสู่ความรู้ที่แท้จริงได้ และความรู้นั้นก็จะต้องมีลักษณะที่สื่อไปถึงความจริง และต้องผ่านการพิสูจน์เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจนสามารถนำมาปฏิบัติและได้ผลเป็นประโยชน์สุขจริง โดยวิธีการที่ปรากฏในกาลามสูตร ซึ่งเป็นกระบวนการตรวจสอบความรู้โดยการเข้าไปรับรู้ และตรวจสอบด้วยตนเองด้วยหลักโยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นวิธีในการกลั่นกรองสิ่งต่าง ๆ ด้วยการวิเคราะห์ และสังเคราะห์จนเกิดความมั่นใจว่าเป็นความรู้ที่แท้จริงตามทัศนะของพุทธปรัชญา

Article Details

How to Cite
รศ.ดร. พ. “แนวคิดทางภาษา และการแสวงหาความรู้ในทัศนะของพุทธปรัชญา”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 12, ฉบับที่ 1, มกราคม 2025, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/276637.
บท
บทความวิชาการ

References

ฟื้น ดอกบัว. ปวงปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพมหานคร : ศยาม, ๒๕๖๓.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ ๑๗, ๒๐. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

ลักษณวัต ปาละรัตน์. ญาณวิทยา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๖๑.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). โยนิโสมนสิการ: วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม, ๒๕๕๖ เข้าถึงได้จาก https://www.watnyanaves.net/th/book_detail/592

. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต), ๒๕๖๔.

Evans, S. A. (2007). Doubting the Kālāma-Sutta: Epistemology, ethics, and the ‘Sacred.’ Buddhist Studies Review, 24(1), 91–107. https://doi.org/10.1558/bsrv.v24i1.91

Lysenko, V. “The Buddhist Philosophy of Language in India: An overview”. In M. Herat (Ed.), Buddhism and Linguistics. London: Palgrave Macmillan, 2018.