บทบาทของเรื่องเล่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชต่อชาวจังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความทางวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทบาทของเรื่องเล่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่มีต่อชาวจังหวัดระยอง เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ และภาคสนามโดยการสัมภาษณ์ ปราชญ์ท้องถิ่น พระสงฆ์ นักวิชาการทางวัฒนธรรม และชาวบ้าน จากชุมชนวัดลุ่มมหาชัยชุมพล ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง จำนวน ๑๐ คน และสังเกตแบบมีส่วนร่วมในประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อเกี่ยวกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วิเคราะห์และตีความโดยใช้แนวคิดเรื่องเล่า (Narratives) และทฤษฎีบทบาทหน้าที่ทางคติชนวิทยา (Theories of Folklore) ผลการศึกษาพบว่า เรื่องเล่าเกี่ยวกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นเรื่องเล่าที่เชื่อมโยงประวัติศาสตร์ชาติ และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ชาวจังหวัดระยองมีความเชื่อว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมาพักทัพที่บริเวณวัดลุ่มมหาชัยชุมพล ทรงผูกช้างศึกประจำพระองค์ ชื่อ“พังคีรีบัญชร” และเรียกประชุมพ่อเมืองและราษฎรชาวระยอง ประกาศเจตจำนงในการกอบกู้เอกราชคืนจากพม่า ชาวระยองพร้อมใจให้สมเด็จพระเจ้าตากสินเป็นผู้นำทัพ แล้วบุกเมืองจันทบุรี ทำการรวบรวมพลกรีฑาทัพทางเรือทางทะเลกอบกู้กรุงศรีอยุธยา จากเรื่องเล่าดังกล่าวนี้มีบทบาทต่อชาวจังหวัดระยอง จำแนกได้ ๖ ประการคือ คือ (๑) เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ (๒) เสริมสร้างอัตลักษณ์ชุมชนและจังหวัดระยอง (๓) สร้างประเพณีสร้างสรรค์ (๔) สร้างสำนึกทางประวัติศาสตร์ ความรักชาติ และความสามัคคี (๕) สร้างสำนึกทางชาติพันธุ์ และ (๖) สร้างแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คณาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. แนวคิดพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๓. เชียงใหม่: โคขยัน มีเดียทีม, ๒๕๕๓.
เฉลียว ราชบุรี และกวี รังสิวรารักษ์. ประวัติเมืองระยองเกี่ยวกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ๓๐๘ วัน ยุทธการฟื้นคืนเอกราชของประเทศสยาม สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. จันทบุรี: สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน, ๒๕๖๑.
ฐิรวุฒิ เสนาคำ. “แนวคิดคนพลัดถิ่นกับการศึกษาชาติพันธุ์”. ใน ว่าด้วยแนวทางการศึกษาชาติพันธุ์. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน), ๒๕๔๗.
ณศิตา คงทวี. “บทบาทของเรื่องเล่าและพิธีกรรมที่มีต่อการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน กรณีศึกษา ‘พระเจ้าตากวัดเขาขุนพนม’ ตำบลบ้านเกาะ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาภาษาไทย และภาษาไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร, ๒๕๖๒.
ดำรงค์ ฐานดี. มานุษยวิทยาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๔๖.
ธวัช ปุณโณทก. วัฒนธรรมพื้นบ้าน : คติความเชื่อ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๘.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. สงครามอนุสาวรีย์กับรัฐไทย ในชาติไทย เมืองไทย แบบเรียนและอนุสาวรีย์ ว่าด้วยวัฒนธรรม, รัฐ และรูปการจิตสำนึก. กรุงเทพมหานคร: มติชน, ๒๕๔๗.
ปฐม หงษ์สุวรรณ. ประเพณีประดิษฐ์ในชุมชนอีสานลุ่มน้ำโขง. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานา, ๒๕๖๐.
ยศ สันตสมบัติ. มนุษย์กับวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๖.
วรรณนะ หนูหมื่น. หลากมิติวรรณคดีศึกษากับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๗.
ศิราพร ณ ถลาง. ทฤษฎีคติชนวิทยา วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนานนิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๗.
ศิราพร ณ ถลาง. ประเพณีสร้างสรรค์ในสังคมไทยร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (มหาชน), ๒๕๕๘.
เสาวลักษณ์ อนันตศานต์. การวิเคราะห์บทบาทที่เป็นแบบฉบับสากลของตัวเอกในวรรณกรรมเรื่องเล่าพื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๔๑.
สัมภาษณ์ พระโบราณพิทักษ์, เจ้าอาวาสวัดลุ่มมหาชัยชุมพล (พระอารามหลวง), วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๗.
สัมภาษณ์ เอกชัย สุขจิตต์, ผู้ดูแลศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๗.
ไทยโพสต์. “ตามรอยทัพพระเจ้าตากวัดลุ่มเมืองระยอง”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.thaipost.net/main/detail/76015 [๑ ธันวาคม ๒๕๖๗].
“พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://3king.lib.kmutt.ac.th/KingTarksinCD/chapter1/page15.html [๑ ธันวาคม ๒๕๖๗].
โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง. “พิธีถวายตัวเป็นลูกพระเจ้าตากสินมหาราช ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๗”, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.facebook.com/MTRSOfficial [๕ ธันวาคม ๒๕๖๗].
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดระยอง. “พิธีบวงสรวงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเนื่องในวันปราบดาภิเษก ๒๕๖๔”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://rayong.prd.go.th/th/content/page/index/id/66321 [๒ ธันวาคม ๒๕๖๗].
สุดารัตน์ ศรีปานะ. “บูชาพระเจ้าตากสินอย่างไรให้ปลดหนี้และสำเร็จ”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/horo/1045046 [๕ ธันวาคม ๒๕๖๗].