ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จในตำแหน่งทางวิชาการ "ศาสตราจารย์" ของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา (ประเทศไทย)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จในตำแหน่งทางวิชาการ "ศาสตราจารย์" ของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา (ประเทศไทย) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ศาสตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน ๕ ท่าน เลือกแบบเจาะจงจำนวน ๑ ท่าน และแบบก้อนหิมะอีก ๔ ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง ใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์แก่นสาระ
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จประกอบด้วย ๔ ด้านหลัก ได้แก่ (๑) ด้านคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วย การสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน การเขียนตำราและหนังสือที่มีความถูกต้องทางวิชาการ และการพัฒนาผลงานอย่างต่อเนื่อง (๒) ด้านวิถีชีวิต ประกอบด้วย การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ (๓) ด้านความสำเร็จในวิชาชีพ ประกอบด้วย การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง การสร้างผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพสูง และการมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรและการสอน (๔) ด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ประกอบด้วย การสนับสนุนจากองค์กร การสร้างเครือข่ายทางวิชาการ การมีต้นแบบที่ดี และการได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว สำหรับข้อค้นพบสำคัญคือ ความสำเร็จในตำแหน่งศาสตราจารย์เกิดจากการผสมผสานของปัจจัยภายในตัวบุคคล ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเอง และปัจจัยภายนอก ได้แก่ การสนับสนุนจากองค์กร เครือข่ายทางวิชาการ และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงาน โดยทุกปัจจัยต้องดำเนินไปอย่างสอดคล้องและส่งเสริมกันและกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. กฎกระทรวงมาตรฐานการขอตำแหน่งทางวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๕. ราชกิจจานุเบกษา. ๑๓๙ (พิเศษ ๖๘ ง), ๒๕๖๕.
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา. ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๖๔. ราชกิจจานุเบกษา. ๑๓๘ (พิเศษ ๓๐๘ ง), ๒๕๖๔.
ยุตติชน บุญเพศ, ชนะศึก นิชานนท์, และสุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์. “การพัฒนาทักษะชีวิตในเด็กวัยเรียน”. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒ (๒๕๖๗) : ๑๕๓-๑๖๙.
Baker, M. “Career Confidence and Gendered Expectations of Academic Promotion”. Journal of Sociology, Vol.46 No.3 (2010): 317-334.
Gardner, S. K., & Blackstone, A. “Putting in Your Time: Faculty Experiences in the Process of Promotion to Professor”. Innovative Higher Education, Vol.38 No.5 (2013) : 411-425.
Greenhaus, J. H., Callanan, G. A., & Godshalk, V. M. Career Management for Life. 5th ed. NY: Routledge, 2019.
Guest, D. E. Perspectives on the Study of Work-Life Balance. Social Science Information, Vol.41 No.2 (2002) : 255-279.
House, J. S. Work Stress and Social Support. MA: Addison-Wesley, 1981.
Maslow, A. H. Motivation and Personality. 2nd ed. NY: Harper & Row, 1970.
McClelland, D. C. The achieving Society. NJ: Van Nostrand, 1961.
Youn, T. I., & Price, T. M. “Learning from the Experience of Others: The Evolution of Faculty Tenure and Promotion Rules in Comprehensive Institutions”. The Journal of Higher Education, Vol.80 No.2 (2009) : 204-237.