กลยุทธ์การตลาดสำหรับธุรกิจสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัย โดยศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย การวิเคราะห์องค์กรด้วย ๗-S McKinsey การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการแข่งขันด้วย Porter's Six Forces Model และการประยุกต์ใช้ส่วนประสมการตลาด ๗Ps โดยการศึกษาพบว่า ธุรกิจสิ่งพิมพ์มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องพัฒนาองค์ประกอบภายในองค์กรให้เชื่อมโยงกันตามแนวคิด ๗-S McKinsey ได้แก่ โครงสร้างองค์กรที่ยืดหยุ่น กลยุทธ์ที่มุ่งเน้นคุณภาพและบริการดิจิทัล ระบบการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ การบริหารแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาบุคลากรและทักษะอย่างต่อเนื่อง และการสร้างค่านิยมร่วมที่เน้นคุณภาพ การวิเคราะห์ Porter's Six Forces Model พบปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ การแข่งขันที่รุนแรงกับโรงพิมพ์เอกชน อำนาจต่อรองของซัพพลายเออร์และแรงงานทักษะ ความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า
สื่อดิจิทัล อุปสรรคด้านเงินลงทุนสูง และความสำคัญของสินค้าที่ใช้ร่วมกัน สำหรับส่วนประสมการตลาด ๗Ps ควรพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ กำหนดราคาที่เหมาะสม พัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายแบบผสมผสาน ส่งเสริมการตลาดที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาบุคลากร สร้างกระบวนการที่ได้มาตรฐาน และพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เหมาะสม โดยมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ให้บริการแบบผสมผสานระหว่างสิ่งพิมพ์ดั้งเดิมและดิจิทัล
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สำนักพิมพ์. รายงานประจำปี ๒๕๖๑ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๖๑.
ชุลีวรรณ โชติวงษ์. “รูปแบบการบริหารธุรกิจและกลยุทธ์ธุรกิจสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ”. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๑ (๒๕๖๓) : ๑๕๘-๑๖๙.
เทพภวัน เทียนเจริญ และไชยนันท์ ปัญญาศิริ. “กลยุทธ์การเติบโตในอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย ภายใต้บริบทนวัตกรรมยุคใหม่”. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๑ (๒๕๖๖) : ๒๖๗-๒๘๒.
พงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช. “อนาคตอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ไทยสู่ฐานวิถีชีวิตใหม่”. วารสารการพิมพ์ไทย. ปีที่ ๓๔ ฉบับที่ ๒ (๒๕๖๔) : ๔๙-๕๘.
พิสมัย เหล่าไทย และรัฐวุฒิ รู้แทนคุณ. “ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษในประเทศไทย”. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๒๘ (๒๕๖๑) : ๑๖๘-๑๘๐.
สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์. “ส่วนประสมการตลาดบริการสำหรับโรงเรียนเอกชน”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-เมษายน ๒๕๖๓) : ๑๘-๓๖.
สลิลพัชร ผดุงเอกธนากานต์. “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารธุรกิจสำนักพิมพ์ในประเทศไทย”. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๒๒ (๒๕๕๙) : ๔๑-๕๐.
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. แผนยุทธศาสตร์สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๖๒.
Aaker, D. Strategic Market Management. (11th ed.). New York: John Wiley & Sons, 2017.
Hanafizadeh, P. & Ravasan. A. “A McKinsey 7S Model-based Framework for ERP Readiness Assessment”. International Journal of Enterprise Information Systems. Vol. 7 No. 4 (2011) : 23-63.
Kotler, P., & Armstrong, G. Principles of Marketing. (17th ed). London: Pearson Education, 2018.
Lovelock, C. and Wirtz, J. Principles of Service Marketing and Management: People, Technology, Strategy. (6th ed). New Jersey: Pearson/Prentice Hall, 2007.
Palmer, A. Principles of Services Marketing. 8th ed. London: McGraw-Hill Education, 2019.
Porter, M. E. Competitive Strategy: Techniques for Analyzing Industries and Competitors. New York: Free Press, 2016.
R. Ali., & Bani Hashim, A.Y. “Integration of Policies, Practices and E-Marketing of Academic Publishing in Malaysian Public Universities”. International Journal of Supply Chain Management, Vol.6 No.1 (2017) : 245-252.
Shattock, M. Strategic Management in European Universities in an Age of Increasing Institutional Self Reliance. Tertiary Education and Management. Vol.6 No.2 (2000) : 93-104.