พุทธศาสนสถาน : แนวทางการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสู่ความเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในยุควัฒนธรรมร่วมสมัย

Main Article Content

ดร.คลฑรรน์รัตน์ ดิษบรรจง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          พุทธศาสนสถานเป็นสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า หรือสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาและมีบทบาทในการท่องเที่ยวมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล เป็นแหล่งรวมศิลปะและความรู้ ทั้งในด้านจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ตำรายาสมุนไพรโบราณ เป็นแหล่งที่คนมาทำบุญ มานมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือประกอบศาสนากิจเพื่อความเป็นสิริมงคล ชื่นชมความสวยงาม ทั้งในพุทธศาสนสถานและศาสนวัตถุ อีกทั้งสภาพแวดล้อมที่น่าอภิรมย์ แต่ด้วยความที่พุทธศาสนสถานเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า เป็นอัตลักษณ์ทางพุทธศาสนาที่สามารถดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเยี่ยมชมเรื่อยมาอยู่เสมอจวบจนถึงปัจจุบัน บรรดาพุทธศาสนสถานอันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทรงคุณค่าทั้งหลายจึงมีการพัฒนาเพื่อให้เกิดคุณค่าทางเศรษฐกิจสามารถสร้างรายได้ สร้างอาชีพ สร้างอัตลักษณ์ทางศาสนาและภูมิปัญญาใน ๔ รูปแบบ ดังนี้ ๑) การพัฒนาพุทธศาสนสถานให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ๒) การพัฒนาพุทธศาสนสถาน   ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประเพณี ๓) การพัฒนาพุทธศาสนสถานให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ๔) การพัฒนาพุทธศาสนสถานให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ ความงาม และภูมิปัญญา

Article Details

How to Cite
ดิษบรรจง ด. “พุทธศาสนสถาน : แนวทางการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสู่ความเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในยุควัฒนธรรมร่วมสมัย”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 12, ฉบับที่ 1, มกราคม 2025, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/277027.
บท
บทความวิชาการ