การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะทางสังคมในรายวิชาการงานอาชีพ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปาโมเดลร่วมกับบอร์ดเกมสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนแม่ตื่นวิทยาคม

Main Article Content

ณรงค์ ทรงอาจ
สุระวีร์ เพียรเพชรเลิศ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (๑) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปาโมเดลร่วมกับบอร์ดเกม (๒) เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๓ ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปาโมเดลร่วมกับบอร์ดเกม (๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนซิปปาโมเดลร่วมกับบอร์ดเกม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๓ โรงเรียนแม่ตื่นวิทยาคม ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๗ จำนวน ๒๙ คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (๑) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปาโมเดลร่วมกับบอร์ดเกม (๒) บอร์ดเกมเรื่องอาหารและโภชนาการ (๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการงานอาชีพ เรื่อง อาหารและโภชนาการ (๔) แบบวัดทักษะทางสังคมในรายวิชาการงานอาชีพ (๕) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test dependent)


          ผลการวิจัยพบว่า (๑) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนซิปปาโมเดลร่วมกับบอร์ดเกม สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ (๒) ทักษะทางสังคมวิชาการงานอาชีพของนักเรียนจากการประเมินก่อนเรียน ระหว่างเรียนและหลังเรียน พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น (๓) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนซิปปาโมเดลร่วมกับบอร์ดเกม มีระดับความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X = ๔.๖๘, S.D. = ๐.๐๔)

Article Details

How to Cite
ทรงอาจ ณ., และ เพียรเพชรเลิศ ส. “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะทางสังคมในรายวิชาการงานอาชีพ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปาโมเดลร่วมกับบอร์ดเกมสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนแม่ตื่นวิทยาคม”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 12, ฉบับที่ 1, มกราคม 2025, น. 484-97, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/277130.
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการพัฒนาสื่อการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๕.

ณัฐวัฒน์ วรรณชัย, ปิยมนัส วรวิทย์รัตนกุล. “การพัฒนาบอร์ดเกมการศึกษา เรื่อง ระบบสุริยะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓”. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑ เดือน (มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๕) : ๘๑.

ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์. “การศึกษาผลของการใช้บอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๔ (ตุลาคม- ธันวาคม ๒๕๖๔) : ๑๘๗.

นวพล กรรณมณีเลิศ, ปิยวรรณ กันทอง, เจนนิศา จั่วจันทึก. “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี เรื่อง สุภาษิตพระร่วงโดยใช้รูปแบบการสอนแบบ CIPPA Model กับการสอน แบบปกติในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา”. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต. ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๖๗) : ๑๐๑ – ๑๑๙.

บุญชม ศรสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น, ๒๕๖๐.

พิมพร พยุหะ. “การใช้การอ่านแบบจิ๊กซอว์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่าน การเขียนสรุปความภาษาอังกฤษ และทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการสอนภาษาอังกฤษ: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๗.

ภูษิตา นกสกุุล, อรััญญา ศรีีจงใจ. “การพัฒนาบอร์ดเกมเรื่อง Going to the Movies เพื่อใช้ส่งเสริมการ เรียนรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔”. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. ปีที่ ๑๘ ฉบับที่ ๑ (เดือนมกราคม - เมษายน ๒๕๖๗) : ๑๖.

วรพล ยวงเงิน. “การนำเกมกระดานเข้าสู่โรงเรียน”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๔ (ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔) : ๔๔๘.

อังศุธร อังคะนิต. “ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการละเล่นพื้นบ้านที่ผสมผสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีต่อทักษะทางสังคมของเด็กในชุมชน”. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๔ (ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๕๗) : ๓๘.