การตีความ “นิพพานชั่วคราว” ตามนัยของพุทธทาสภิกขุ

Main Article Content

พระทินวัฒน์ จนฺทปญฺโญ

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การตีความ ‘นิพพานชั่วคราว’ ตามนัยของพุทธทาสภิกขุ โดยเปรียบเทียบกับคำอธิบายเรื่องนิพพานในพระพุทธศาสนาตามคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถา
ผลการศึกษาพบว่า นิพพานตามนัยของพระพุทธศาสนา หมายถึง สภาวะที่สิ้นกิเลสโดยสิ้นเชิงและเกิดขึ้นเฉพาะในระดับโลกุตรธรรมซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของการปฏิบัติธรรม  ในขณะที่พุทธทาสภิกขุเสนอแนวคิดเรื่อง “นิพพานชั่วคราว” โดยเน้นว่าผู้ปฏิบัติแม้ยังอยู่ในฐานะปุถุชนก็สามารถสัมผัสนิพพานได้ชั่วขณะในสภาวะที่จิตหลุดพ้นจากกิเลสชั่วคราว บทความวิชาการนี้ชี้ให้เห็นว่าการตีความดังกล่าวสะท้อนถึงมิติการสื่อสารธรรมะในลักษณะตีความโดยอรรถ (Idiomatic interpretation) อันเป็นวิธีหนึ่งในการกระตุ้นให้พุทธศาสนิกชนตระหนักถึงนิพพานในฐานะจุดมุ่งหมายที่สามารถเข้าถึงได้และส่งเสริมความเข้าใจในธรรมะในยุคร่วมสมัย นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยง "นิพพานชั่วคราว" เข้ากับแนวคิดเรื่องนิโรธในพระไตรปิฎก ซึ่งมีลักษณะสอดคล้องกับการดับกิเลสในระดับชั่วคราว  ได้แก่ วิกขัมภนนิโรธ และตทังคนิโรธ ที่สามารถเกิดกับผู้ปฏิบัติธรรมในระดับโลกียธรรมแม้จะไม่เทียบเท่านิพพานที่แท้จริงก็ตาม   ผลจากงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า การตีความนิพพานของพุทธทาสภิกขุมีเป้าหมายเพื่อทำให้คำสอนทางธรรมะมีความหมายต่อชีวิตประจำวันมากขึ้น ส่งเสริมการเข้าถึงธรรมะในกลุ่มคนทั่วไป และเปิดโอกาสให้ปุถุชนได้สัมผัสสภาวะของความเย็นสงบของนิพพานในระหว่างการปฏิบัติธรรม

Article Details

How to Cite
จนฺทปญฺโญ พ. . . “การตีความ ‘นิพพานชั่วคราว’ ตามนัยของพุทธทาสภิกขุ”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 12, ฉบับที่ 1, มกราคม 2025, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/277208.
บท
บทความวิชาการ

References

กีรติ บุญเจือ. ศาสนศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ไทยวัฒนาพานิช จํากัด, ๒๕๔๑.

ธรรมทานมูลนิธิ. นิพพานสำหรับทุกคน โดย พุทธทาสภิกขุ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, ๒๕๔๕.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร. กรุงเทพมหานคร: คิงออฟแอนด์เวอร์ไทซิ่ง.

พุทธทาสภิกขุ. นิพพาน (ความน่าอัศจรรย์บางประการของพระนิพพาน). กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, ๒๕๕๕.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

โมคคัลลานเถระ. คัมภีร์อภิธานวรรณนา. พระมหาสมปอง มุทิโต แปลและเรียบเรียง. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, ๒๕๕๐.

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ). คัมภีร์วิสุทธิมรรค (แปล) รจนาโดยพระพุทธโฆสเถระ. พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพลส, ๒๕๕๕.

A. Sharma. Classical Hindu Thought: An Introduction. Oxford University Press, 2000.

Bernstein, R. J. Beyond Objectivism and Relativism. Philadephia: University of Pennsyl- vania Press, 1983.

PANTIP. “นิพพานชั่วคราว คือคำสอนที่พราหมณ์ปลอมปนเข้ามาในศาสนาพุทธหรือไม่”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://pantip.com/topic/34116809 [๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๗].