กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านเทคโนโลยีโครงข่าย สู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง

Main Article Content

รัชณี สิทธิดำรงค์
ศิรวิทย์ กุลโรจนภัทร
ดวงสมร โสภณธาดา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ๑) สภาพของอัตลักษณ์ของบุคลากร ลักษณะงานของ บุคลากร นโยบายการบริหารจัดการบุคลากร กลยุทธ์การบริหารจัดการบุคลากรด้านเทคโนโลยีโครงข่าย และ ๒) กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านเทคโนโลยีโครงข่ายสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง และ ศึกษาอิทธิพลของอัตลักษณ์ของบุคลากร ลักษณะงานของบุคลากร นโยบายการบริหารจัดการบุคลากร และกลยุทธ์การบริหารจัดการบุคลากรด้านเทคโนโลยีโครงข่ายที่มีต่อกลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านเทคโนโลยีโครงข่ายสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่าง การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรในธุรกิจ โครงข่ายที่เป็นบริษัทจำกัดมหาชนจำนวน ๔๐๐ คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสมการโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิจัย แบบเคลฟาย เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๐ คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี โครงข่ายและผู้บริหารงานธุรกิจเทคโนโลยีโครงข่าย ใช้การคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และนำข้อมูลมา วิเคราะห์หาค่ามัธยฐานและส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่าอัตลักษณ์ของบุคลากร ลักษณะงาน ของบุคลากร นโยบายการบริหารจัดการบุคลากร กลยุทธ์การบริหารจัดการบุคลากร ด้านเทคโนโลยี โครงข่ายและกลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านเทคโนโลยีโครงข่ายสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง อยู่ในระดับดีมาก และมีอิทธิพลต่อกลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านเทคโนโลยีโครงข่ายสู่การ เป็นองค์กรสมรรถนะสูง

Article Details

How to Cite
สิทธิดำรงค์ ร., กุลโรจนภัทร ศ., และ โสภณธาดา ด. “กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านเทคโนโลยีโครงข่าย สู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 7, ฉบับที่ 1, มีนาคม 2020, น. 1-17, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/181078.
บท
บทความวิจัย

References

จีระ หงส์ลดารมภ์. แนวทางปลูกและเก็บเกี่ยวทุนมนุษย์ในยุคหลังวิกฤติมหาอุทกภัย. JOBSPAPER ๑(๑). ๒๔๔๔.

ชาญชัย อาจินสมาจารย์. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ, ๒๕๕๗.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี.พริ้นท์, ๒๕๕๑.

ดนัย เทียนพุฒ และคณะ. การบริหารทรัพยากรบุคคลในทศวรรษหน้า. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๒.

บังอร โสฬส. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: ความเป็นมาและกระบวนการที่ควรจะเป็นไป. วารสารสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, (๒๕๕๖).

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพิมพ์ดี จำกัด, ๒๕๕๕.

เปรื่อง กิจรัตน์กร. มุมมองเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยของรัฐ. เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง บทบาทของสภามหาวิทยาลัยกับการกำกับนโยบายในสหรัฐอเมริกา: ประสบการณ์จากการศึกษาดูงาน เพื่อการพัฒนาสภามหาวิทยาลัยของไทย ณ โรงแรม แกรนด์เมอร์เคียวฟอร์จูน, ๒๕๕๖.

พรชัย เจดามาน. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ. กรุงเทพมหานคร: สุภา, ๒๕๕๔.

มัลลี เวชชาชีวะ. พฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท, ๒๕๕๔.

วรภัทร์ ภู่เจริญ. การบริหารนวัตกรรมอย่างยั่งยืนและพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพมหานคร: อริยชน, ๒๕๕๐.

สุภาพร พิศาลบุตร และ ยงยุทธ เกษสาคร. แนวคิดและทฤษฏีเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. เอชอาร์เซ็นเตอร์, ๒๕๕๕.

สุณีย์ ล่องประเสริฐ และ ปลื้มใจ ไพจิตร. จริยธรรมทางธุรกิจของธุรกิจการท่องเที่ยวในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ. ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑ (๒๕๕๙).

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. การจัดการนวัตกรรมสำหรับนักบริหาร. กรุงเทพมหานคร :กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ๒๕๕๗.

สำนักงานส่งเสริมเทคโนโลยีโครงข่ายแห่งชาติ. โครงการสำรวจข้อมูลตลาดโครงข่ายและบริการโครงข่าย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานส่งเสริมเทคโนโลยีโครงข่ายแห่งชาติ. ๒๕๕๗.

อำนาจ ธีระวนิช. การจัดการยุคใหม่ Modem management. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ๒๕๕๓.