เศรษฐศาสตร์แนวพุทธกับการพัฒนาความสุข

Main Article Content

ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์

บทคัดย่อ

             ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของจิต จะทำให้พระพุทธศาสนามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาเรื่องความสุข และหนทางที่จะนำความสุขและสันติภาพมาสู่สังคมมนุษย์ และเชื่อว่าจะเป็นมิติใหม่ของการศึกษาวิจัยที่เป็นประโยชน์อย่างมาก ทั้งสำหรับประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาที่ระบบทุนนิยมได้พัฒนาไปแล้วอย่างมาก สังคมทุนนิยมในทัศนะของนักเศรษฐศาสตร์ เป็นสังคมที่แก้ไขปัญหาพื้นฐานที่มีสาเหตุมาจากการขาดแคลนทรัพยากร ประสิทธิภาพและการสร้างความเจริญทางวัตถุ จึงเป็นทางออกที่สำคัญ นี่เป็นการมองจากด้านมุมหนึ่งที่เห็นว่า มนุษย์มีความต้องการที่ไม่สิ้นสุด เมื่อความต้องการเหล่านั้นได้รับการตอบสนองแล้ว ความสุขและความสมหวังจากการที่ได้ใช้ทรัพยากรก็จะเพิ่มมากขึ้น เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ ช่วยส่งเสริมให้คนบริโภคด้วยปัญญา มีเหตุมีผล ตรงกันข้ามกับการบริโภคในปัจจุบันนี้ ที่แข่งขันกันบริโภคหรือบริโภคเพื่อหน้าตา หรือบริโภคด้วยการถูกชักนำด้วยสื่อกระแสหลัก ซึ่งได้ใช้กลยุทธ์ทางการตลาด โดยพื้นฐานพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธความมั่งคั่ง (wealth) หรือระบุว่าความมั่งคั่งเป็นความชั่วร้ายในสองเหตุผลก็คือ หนึ่ง ความมั่งคั่งทางวัตถุสามารถป้องกันเราจากความลำบากและความยากจน และสองช่วยเหลือมนุษย์ในการพัฒนาความเมตตากรุณา ถือเป็นกุศลจิต และทำให้สังคมมีความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป เพราะความสุขที่แท้จริง มิได้เกิดจากการบริโภควัตถุแต่อย่างใด หากแต่เกิดขึ้นจากสภาวะของจิตใจภายใน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์. การพัฒนาความสุขสำหรับสังมสมัยใหม่. พิมพ์ครัง: ที " 2. กรุงเทพมหานคร: สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2545.
พระครูปุริมานุรักษ์. (ประสิทธิ ^พิณศรี). เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก
จำกัด, 2554.
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณโสภณจิตฺโต ป.ธ. 9). แด่เพื9อนร่วมทางสายสันโดษ, ข่าวสดรายวัน, (30 พฤษภาคม 2552).
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พุทธศาสนากับสังคมไทย. พิมพ์ครัง: ที " 2. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2532.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
อภินันท์ จันตะนี. เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ทีพ" ิทักษ์อักษร, 2544.