ลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
คำว่า “บัณฑิต” มาจากภาษาบาลีว่า “ปัณฑิตา” ซึ่งแปลว่า ผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ซึ่งตรงข้ามกับคำว่า “พาล” (พาลา พาโล) ที่แปลว่าคนโง่ หรือคนที่ดำเนินชีวิตด้วยตัณหา โดยทั่วไปแล้ว คุณค่าและความสำคัญของบัณฑิตทางโลกจะถูกวัดด้วยใบปริญญาที่จะนำไปเป็นเครื่องมือสำหรับการันตีเพื่อเป็นใบเบิกทางในการแสวงหาอาชีพ และวัตถุเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ฉะนั้น หากจะกล่าวว่าบัณฑิตหมายถึงผู้ฉลาด คำว่า ฉลาดในบริบททางโลกย่อมหมายถึงความฉลาดในการใช้ความรู้เพื่อเอาตัวรอดโดยการแสวงหาปัจจัยสี่มาเป็นเครื่องมือหล่อเลี้ยงร่างกาย แต่เมื่อกล่าวถึง “บัณฑิตในทางธรรม” ย่อมมีนัยที่ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น เพราะบัณฑิตในบริบทนี้ แม้จะหมายถึง “ความฉลาด” เช่นเดียวกัน แต่เป็นความฉลาดทางปัญญา ที่ไม่ได้หมายถึงการเอาตัวรอดทางกายภาพเท่านั้น หากแต่เป็นการพาตัวเองให้หลุดพ้นจากกับดักของ “โลกธรรม” ที่มนุษย์กำลังเผชิญหน้าในทุกขณะของการดำเนินชีวิตและการทำงาน
การศึกษาเรื่อง “ลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์” นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและอธิบายถึงลักษณะของบัณฑิตที่ดี บัณฑิตกับการมีจริยธรรม บัณฑิตกับการมีความรู้ บัณฑิตกับการมีความคิด บัณฑิตกับการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม บัณฑิตกับการสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจ ความเป็นสังคมชุมชนวิชาการ บัณฑิตกับการสมาคมในสังคมชุมชนวิชาการ รวมถึงยังได้กล่าวถึงการสั่งสอนและอบรมบัณฑิตที่ดีว่าควรทำอย่างไร การคิด พูด อ่าน เขียนของบัณฑิตและการทำตนให้เป็นที่ยอมรับในสังคมชุมชนวิชาการ
Article Details
References
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต).“หลักการและวิธีการเทศน์”. พิมพ์ครังC ที . 2. กรุงเทพมหานคร: หจก. สามลดา, 2555.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. มูลนิธิ.พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย,2525.
สม สุจีรา. “ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น II”. พิมพ์ครั้ง ที . 21. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ธรรมะ, 2554.
สุภาภรณ์ โกสีย์. บัณฑิตที่พึงประสงค์. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 2550.