การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรมของคนพิการของหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเวชชารักษ์ ลำปาง ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

Main Article Content

คนึงนิจ ปิจนันท์
สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์
ดิลก บุญอิ่ม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ของหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเวชชารักษ์ลำปาง ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรมของคนพิการ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักพุทธธรรมของคนพิการ ของหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเวชชารักษ์ลำปาง ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งเชิงเอกสาร และเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ ได้แก่ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 13 คน กลุ่มผู้ป่วย/คนพิการ จำนวน 9 รูป/คน และกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วย/ญาติของผู้ป่วย จำนวน 5 คน


ผลการวิจัย พบว่า โรงพยาบาลเวชชารักษ์ ลำปาง ได้รับนโยบายภาครัฐ โดยการจัดองค์กรและการบริหารงานกายภาพบำบัดให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ มีการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลสอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงานเพื่อเอื้อต่อการให้บริการทางกายภาพบำบัด ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ  เจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ได้ตรวจประเมินและให้โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ที่เหมาะสมกับผู้ป่วย และให้ความรู้และคำแนะนำในการดูแลตนเองด้านการแพทย์ ผู้ป่วยสามารถจัดการด้านกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง มีจิตใจมั่นคง มีสมาธิอยู่กับปัจจุบันมากขึ้น รู้จักการเข้าสังคม ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคและการดูแลสุขภาพหลังเจ็บป่วย และมีความมั่นใจที่จะกลับไปใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้น แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักพุทธธรรมของคนพิการ ควรดำเนินการใน 4 ด้าน คือ การพัฒนาร่างกายให้เกิดทักษะในสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ  การพัฒนามารยาทให้เกิดทักษะในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การพัฒนาความคิดให้เกิดทักษะในการควบคุมอารมณ์ที่เศร้าหมอง และการพัฒนาความรู้ให้เกิดทักษะในการรับรู้สิ่งที่ปรากฏตามที่เป็นจริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติวัฒน์ ฉัตรศรีโพธ. “โครงการวิจัยศึกษาปัญหาและรูปแบบการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขของ คนพิการ : พื้นที่ศึกษา เทศบาลตำบลเมืองศรีไคและเทศบาลตำบลธาตุ จังหวัดอุบลราชธานี”. รายงานวิจัย. คณะ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2558.

ณฤทัย เกตุหอม. “ความต้องการได้รับสวัสดิการทางสังคมของคนพิการในเขตอำเภอบ่อทองจังหวัด ชลบุรี”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย ราชภัฏวไลยอลงกรณ์, 2555.

ธานีรัตน์ ผ่องแผ้ว.“คุณภาพชีวิตคนพิการขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช: ปัจจัยที่มีผลและแนวทางการพัฒนา”.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2557.

ปุริมาพร แสงพยับ. “ผลการให้คําปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเผชิญความจริงที่มีต่อการตระหนักรู้และการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต”. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คําปรึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2553.

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550. ราชกิจจานุเบกษา. (กันยายน 2550).

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2551.

พรรณราย ทรัพยะประภา. จิตวิทยาประยุกต์ในชีวิตและในการทำงาน. กรุงเทพมหานคร : แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.

มาลินี อยู่โพธิ์. การทดลองการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อการพัฒนาการปรับตัวทางสังคมด้านสัมพันธภาพกับเพื่อน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาจิตวิทยาการแนะแนว. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2525.

วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. จิตวิทยาการปรับตัว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, 2545.

เรียม ศรีทอง. พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น, 2540.

เสรี พงศ์พิศ. 100 ร้อยคําที่ควรรู้. กรุงเทพมหานคร: เจริญวิทย์, 2547.

สุทิน จันทา. “คุณภาพชีวิตการทำงานของคนพิการทางกายที่ผ่านการฝึกอาชีพจากศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการ”. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2554).

สมคิด อิสระวัฒน์. “การเรียนรู้ด้วยตนเอง: กลวิธีสู่การศึกษาเพื่อความสมดุล”. วารสารครุศาสตร์, ปีที่ 27 ฉบับที่ 1, (กรกฎาคม–ตุลาคม 2541).

สมใจ ลักษณะ. การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา, 2543.

สำราญ จูช่วย และคณะ. “คุณภาพชีวิตนักศึกษาวิทยาลัยราชพฤกษ์: กรณีศึกษานักศึกษาเข้าใหม่ ปีการศึกษา 2555”. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยราชพฤกษ์, 2555.