ความคิดเห็นของชุมชนต่อบทบาทพระสงฆ์ในการมีส่วนร่วมด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

Main Article Content

ธนกร สิริสุคันธา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของชุมชนต่อบทบาทพระสงฆ์ในการมีส่วนร่วมด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในอำเภอแม่ทะ จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อบรรยายคุณลักษณะของข้อมูลที่ศึกษา ประกอบด้วยจำนวนความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลที่ได้จากแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตและแบบบันทึกการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับบทบาทพระสงฆ์ในการมีส่วนร่วมด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ นำข้อมูลที่ได้มาจัดหมวดหมู่และวิเคราะห์เนื้อหาสาระและหาความถี่ประกอบการบรรยาย


ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของชุมชนต่อบทบาทพระสงฆ์ในการมีส่วนร่วมด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (3.10) จำแนกรายด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การมีส่วนร่วมด้านความคิด  การริเริ่มสร้างสรรค์ (3.21) การมีส่วนร่วมในด้านการรับผลประโยชน์ (3.18) การมีส่วนร่วมด้านการตัดสินใจ (3.11) การมีส่วนร่วมด้านการปฏิบัติงาน (3.03) และการมีส่วนร่วมด้านการติดตาม ประเมินผลและการรับผิดชอบในโครงการ (2.97)


ด้านปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านบุคคล ประกอบด้วยความเป็นสมณเพศซึ่งปฏิบัติตามพระธรรมวินัยในการช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ 2) ปัจจัยด้านชุมชน คือความเข้มแข็งของคณะกรรมการวัดหรือคณะกรรมชุมชน และ 3) ปัจจัยด้านหน่วยงานราชการและองค์การที่ขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ประกอบด้วย การใช้วัดเป็นพื้นที่ส่วนกลาง การเป็นกลางทางการเมือง และการหาปัจจัยมาสนับสนุนการจัดกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุครอบคลุมทั้งด้านจิตใจ ด้านวัตถุ ด้านสังคมและด้านวัฒนธรรม ประเพณีที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. ระบบสถิติทางการทะเบียน. [ออนไลน์].แหล่งที่มา: http://stat.dopa.go.th/stat/ [11 มิถุนายน 2563].

กฤตศิลป์ อินทชัย. “บทบาทผู้สูงอายุตาบลฟ้าฮ่ามต่อการพัฒนาท้องถิ่น”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต.คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551.

เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. การระดมประชาชนเพื่อการพัฒนาการบริหารงานพัฒนาชนบท.กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์, 2523.

ฉวีวรรณ แก้วพรหม, “ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเครือข่ายทางสังคมและการสนับสนุนทางสังคมที่รับรู้กับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร”.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530.

ชัยมงคล ศรีทองแดง. “ปัจจัยที่มีผลต่อบทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน เขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2552.

ทิพวรรณ สุธานนท์. “การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการดาเนินชีวิตอย่างมีความสุขของผู้สูงอายุ”.วิทยานิพนธ์พุทธศาสนมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.

พระไพศาล วิสาโล. ประชาสังคมและวัฒนธรรมชุมชน. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิเด็ก, 2544. พระมหาประทีป สญญโม (พรมสิทธิ์) โสวิทย์ บารุงภักดิ์และพระมหาดาวสยาม วชิรปัญฺโญ, “แนวทางการส่งเสริมงานสาธารณสุขของพระสงฆ์ในภาคอีสาน”, วารสารวิชาการ ธรรมทรรศน์, ปีที่ 18 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2561): 147-148.

พระมหาโยธิน โยธิโก, “บทบาทพระสงฆ์ไทยในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”, วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, ปีที่ 17 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2560): 25-36.

พระวิทูรย์ สุรจิตต์. “บทบาทพระสงฆ์ต่อการพัฒนาหมู่บ้าน: กรณีศึกษาชุมชนวัดโป่งคา หมู่ที่ 5 ตาบลดู่พงษ์ อาเภอสันติสุข จังหวัดน่าน”. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547.

พระศรีธาตุ สิงห์ประทุม. “บทบาทพระสงฆ์ในชุมชนหมู่บ้านธาตุอิงฮัง แขวงสะหวันนะเขตสปป.ลาว”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2555.

พระอธิการเชือน เขมธมฺโม (แย้มหนองเต่า). “บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนพื้นที่อาเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2558.

พระอธิการประวัติ กันหะคุณ. “บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาตาบลนายม อาเภอเมือง จังหวัดอานาจเจริญ”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2550.

พระอนุชิต ชูเนียม. “บทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการพัฒนาชุมชนตามความคิดเห็นของพระสงฆ์กับผู้นาชุมชนในจังหวัดอุตรดิตถ์”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 2550.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนาขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ. กรุงเทพมหานคร: โฟร์เพซ, 2548.

ศิริพงษ์ เกี้ยวสกุล. “การนาเสนอแนวทางการส่งเสริมการจัดการความรู้ของชุมชนในการนาพลังผู้สูงอายุมาใช้ในการพัฒนาชุมชน”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต.คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.

สฤษดิ์ มินทระ. “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการศึกษาในสังคมไทย: แนวคิด ปัญหาอุปสรรค แนวทางในอนาคต”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2536.

สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สานักนายกรัฐมนตรี, 2560.

สานักงานเลขาธิการวุฒิสภา. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ:สานักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, 2556.

สุวรรณี คงทอง. “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลนในท้องที่อาเภอลังกา จังหวัดตรัง”.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2536.

อคิน รพีพัฒน์. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาชนบทในสภาพสังคมและวัฒนธรรม.กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพการพิมพ์, 2527.

อรทัย ก๊กผล. การมีส่วนร่วมของประชาชนสาหรับนักบริหารท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์,2552.

Krejcie and Morgan. “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, vol. 30 No.3 (1970): 608-609.